ความจน” เป็นเรื่องใกล้ตัวมากกว่าที่คุณคิด เมื่อต้นปี 2015
องค์กรต่อต้านความยากจน “อ๊อกเฟม”ได้เผยแพร่ข้อมูล ณ เมืองดาวอส
ในการประชุม เวิล์ด อีโคโนมิค ฟอรัม กล่าวว่า คนที่รวยที่สุดในโลก 1%
เป็นเจ้าของความมั่งคั่งมากถึง 48% ของความมั่งคั่งบนโลก
แล้วคุณคิดว่า! ในประเทศไทย คนรวยที่สุดจะครองความมั่งคั่งไปเท่าไหร่?
แล้วจะเหลือพื้นที่กี่เปอร์เซ็นต์ไว้ให้คุณ วันนี้!
ถ้าคุณยังไม่ตื่นตัวพัฒนาตนเอง ก็เท่ากับคุณกำลังก้าวลงสู่ความจนไปทุกๆ วัน
และเปอร์เซ็นต์ความมั่งคั่งของคุณก็จะยิ่งถูกคนรวยขยายอาณาบริเวณไปเรื่อยๆ
เอาล่ะครับ! มาดู 6 ข้อนี้ที่จะทำให้คุณยิ่งจนลง ถ้ายังคงทำอยู่ในทุกๆ วันของชีวิตและควรรีบปรับปรุงโดยด่วน!
1. ใช้ชีวิตเกินค่าครองชีพ
หลายคนใช้ชีวิตอย่างฟุ่มเฟือย ทั้งจับจ่ายตามใจชอบ ซื้อของที่อยากได้
หรือแม้แต่ยอมเป็นหนี้บัตรเครดิต
เพียงเพื่อต้องการซื้อสิ่งของที่ไม่จำเป็นมาประดับชีวิตคุณให้ดูดี และ
“ดูมี” เหมือนคนอื่น คนอื่นที่ว่าอาจทำได้
เพราะสถานะทางการเงินของเขาอาจมั่นคงหรือพร้อมกว่า แต่การใช้เงิน
“เกินค่าครองชีพที่จำเป็น” เช่น กาแฟแก้วละ 35-40 บาท กับ กาแฟแก้วละ
100-170 บาท ราคากาแฟแก้วละเท่าไหร่?
ที่คุณรู้สึกว่าซื้อง่ายจ่ายสบายใจได้ทั้งเดือน
นั่นคือราคากาแฟที่เหมาะกับค่าครองชีพที่คุณแบกรับไหว
หากรู้สึกว่าหนักใจที่จะจ่ายแต่อยากซื้อ
นั่นคือสัญญาณอันตรายทางการเงินที่คุณกำลังใช้เกินตัวอยู่
2. หนักไม่เอา เบาไม่สู้
“ความจน” น่ากลัวกว่าที่คุณคิด
ถ้าหากคุณลองถามมหาเศรษฐีทุกคนที่เริ่มต้นจากศูนย์ แต่ขยันทำมาหากิน
พัฒนาตนเอง และกล้าก้าวข้ามความเหน็ดเหนื่อยจนกระทั่งสร้างตัวจนร่ำรวย
พวกเขาเหล่านั้นจะตอบเป็นเสียงเดียวกันว่า “ไม่อยากกลับไปจนอีก”
แต่สำหรับหลายคนที่ยังเป็นมนุษย์เงินเดือน หรือ เพิ่งเริ่มธุรกิจส่วนตัว
แต่ยังไม่สู้งานหนัก ไม่พร้อมกลับบ้านดึก
หรือเดินหนีปัญหาที่อยู่ตรงหน้าที่ควรรับผิดชอบ
ก็คงยากที่จะพัฒนาไปสู่ความมั่งคั่งทางการเงิน
เพราะโอกาสทองมาพร้อมหยาดเหงื่อเสมอ
3. ผลัดวัน ไม่มีวินัย ชิลไปวันๆ
สโลว์ไลฟ์ คือชีวิตชั้นสูง ที่คนที่มีฐานะทางการเงินพร้อมพรั่งเท่านั้น
จึงจะพร้อมสำหรับการนั่งจิบกาแฟเรื่อยๆ ท่องเที่ยวแบบไม่เร่งรีบ
บินไปเที่ยวเมื่ออยากไป ใช้เงินซื้อความสะดวกสบายเท่าที่สบายใจ
แต่กลับมาก่อน คุณยังเป็นหนี้ คุณยังไม่มีการเงินที่มั่นคง
คุณยังไม่มีความสะดวกมือในการจับจ่าย
เพราะคุณยังไม่มีวินัยทางการเงินที่ดีและรัดกุม ที่สำคัญ!
คุณยังทำงานและเก็บเงินแบบผลัดวันประกันพรุ่งอีกด้วย
การเรียบเรียงชีวิตใหม่ จัดลำดับความสำคัญ 1 2 3
ว่าเป้าหมายที่คุณต้องการในชีวิตคืออะไร จะทำให้คุณวางแผน
ไม่หยุดพัฒนาตัวเอง
และสร้างวินัยให้กับชีวิตที่ต้องการได้เร็วขึ้นเป็นเท่าตัว
4. ไม่สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่น
“ไม่มีใครสามารถทำงานคนเดียวได้” แม้แต่อาชีพฟรีแลนซ์
ก็ยังต้องมีคอนเน็คชั่นเพื่อสร้างงานคุณภาพให้ประสบความสำเร็จ
เมื่อคุณต้องทำงานร่วมกับผู้อื่นในทีม
สิ่งสำคัญไม่ใช่ผลงานที่ประสบความเร็จตามเป้า
แต่คือประสิทธิภาพในการประสานงานให้เกิดผลลัพธ์สูงสุดตามที่ตั้งเป้าไว้
หลายคนพลาดโอกาสสำคัญในการก้าวหน้าหรือเลื่อนตำแหน่งงาน
เพราะไม่สามารถปฏิสัมพันธ์กับผู้ร่วมงานคนอื่นได้
จึงทำให้ผู้บริหารเห็นว่าคุณยังไม่เหมาะสมจะเลื่อนตำแหน่ง หรือ
หากคุณทำธุรกิจอยู่ ก็คงจะติดขัดอย่างแน่นอน
หากต้องร่วมทุนกับพาร์ทเนอร์เพื่อขยายธุรกิจ
แต่คุณกลับทำตัวเป็นพระเอกอยู่คนเดียว และเที่ยวบอกใครๆ
ว่าคุณทำงานนี้สำเร็จทั้งๆ ที่เป็นผลจากการทำงานร่วมกันของทีมงาน
5. กลัวการตั้งเป้าหมายในชีวิต
การพุ่งชนเป้าหมาย อาจเป็นเรื่องน่ากลัวสำหรับบางคน เช่น
คนที่ตั้งเป้าว่าจะ “ปลดหนี้”
แต่กลัวการเห็นเงินในบัญชีพร่องลงจากการชำระหนี้ตรงตามเวลา
หรือไม่มีวินัยในการปลดหนี้ จึงทำให้เลี่ยงการชำระหนี้
จนเป็นเหตุให้ต้องแบกรับภาระดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น
หรือบางคนตั้งเป้าหมายว่าจะเก็บเงิน 10-20% จากเงินเดือนเป็นประจำ
แต่กลับถอดใจเพราะเห็นสินค้าที่ชอบกำลังลดราคากระหน่ำ
ทำให้ต้องควักเงินซื้อมาจนได้และเป้าหมายที่อยากเก็บเงินจึงล้มเหลวไม่เป็นท่า
ความล้มเหลวที่คนเหล่านี้ประสบคือ “ความกลัวเป้าหมายที่ตนอยากทำ” หรือ
ไม่กล้ามีเป้าหมาย เพราะกลัวทำไม่ได้
จึงเป็นอุปสรรคสำคัญที่จะทำให้ชีวิตของคุณพังและไม่สามารถหลุดพ้นความจนได้สักที
6. คิดมากจนก้าวสู่ความขี้ขลาด
คนคิดมากกับคนรอบคอบนั้นต่างกัน
คนคิดมากจะไม่ลำดับข้อมูลที่ควรนำมาไตร่ตรอง
แต่จะนำทุกปัญหามารวมกันจนทำให้ไม่เห็นทางออก
แต่คนที่คิดรอบคอบจะคิดเป็นเรื่องๆ
และลำดับความสำคัญว่าเรื่องใดควรมาก่อนมาหลัง
ทำให้คิดเป็นกระบวนการและได้คำตอบในแต่ละปัญหาอย่างรวดเร็ว
ซึ่งคนประเภทที่คิดมากเมื่อทำธุรกิจ
จะไม่กล้าวางแผนในการต่อยอดธุรกิจเพื่อสร้างกำไร เพราะกลัวความล้มเหลว
ทำให้เสียโอกาสสำคัญที่ทำให้ธุรกิจเติบโต หรือ
คนที่คิดมากเมื่อทำงานเป็นมนุษย์เงินเดือน จะกลัวการแสดงความคิดเห็น หรือ
ไม่กล้าที่จะทำงานยากๆ เพื่อพัฒนาตนเอง
ซึ่งเป็นเพราะการไตร่ตรองโดยใช้ทุกความคิดมารวมกัน จนกลายเป็นความกังวล
หรือ ขยายจนเป็นความขี้ขลาด ที่จะรับผิดชอบงานที่ใหญ่ขึ้น ทั้งๆ
ที่โอกาสมาอยู่ตรงหน้า
แล้วคุณล่ะครับ คิดว่ามีอุปสรรคใดอีกบ้าง
ที่เป็นตัวแปรทำให้ความจนยังคงวนเวียนอยู่และไม่อาจหลุดพ้นการเงินที่กระเบียดกระเสียนที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
หากมีคำแนะนำหรือประสบการณ์ส่วนตัวก็สามารถแบ่งปันกันได้ครับ