กรมการแพทย์เผยคนไทยป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่อันดับต้น ๆ
ระยะแรกไม่แสดงอาการ แนะทานผัก ผลไม้เมล็ดธัญพืช
เลี่ยงเนื้อสัตว์และอาหารที่มีไขมันสูง
ออกกำลังกายประจำทำจิตใจให้แจ่มใสจะห่างไกลจากโรคได้
นพ.สุพรรณ ศรีธรรมมา อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า ลำไส้ใหญ่เป็นส่วนล่างของระบบทางเดินอาหารติดต่อโดยตรงกับลำไส้เล็กและส่วนปลายสุดคือทวารหนัก มะเร็งลำไส้ใหญ่พบได้ทั้งชายและหญิงในอัตราที่ใกล้เคียงกัน โดยเฉพาะวัยกลางคนที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป เชื่อว่าเกิดจากหลายปัจจัยรวมกันทั้งด้านสิ่งแวดล้อมที่มีมลพิษ ด้านพฤติกรรมการทานอาหาร เช่น ทานเนื้อสัตว์มาก ทานอาหารที่มีไขมันสูง และทานผักผลไม้ที่มีกากใยน้อยเป็นประจำ เป็นต้น และด้านพันธุกรรม เช่น โรคบางอย่างของลำไส้ใหญ่ที่เป็นโรคทางพันธุกรรมหรือติ่งเนื้องอกในลำไส้บางชนิดที่อาจกลายเป็นมะเร็งได้
นพ.สุพรรณ กล่าวว่า ผู้ป่วยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ในระยะแรกอาจไม่มีอาการแสดงใดๆ หรืออาจมีแค่อาการปวดท้อง แน่นท้องคล้ายโรคกระเพาะอาหาร และเมื่อเป็นในระยะที่มากขึ้นอาจมีการเปลี่ยนแปลงนิสัยในการขับถ่ายอุจจาระทั้งจำนวนครั้งและลักษณะของอุจจาระที่ออกมา มีเลือดและมูกออกทางทวารหนัก ท้องอืด ท้องเฟ้อ เรื้อรัง โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ น้ำหนักลด อ่อนเพลีย ซีด หรือโลหิตจาง โดยไม่ทราบสาเหตุ คลำก้อนได้บริเวณท้อง และมีการอุดตันของลำไส้ใหญ่ หากมีอาการดังกล่าวควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยและรักษาอย่างถูกต้อง การตรวจพบมะเร็งลำไส้ใหญ่ตั้งแต่ระยะเริ่มต้นมีความสำคัญมากเพราะจะทำให้เพิ่มโอกาสการรักษาให้หายขาดได้ สำหรับการตรวจวินิจฉัยสามารถทำได้ด้วยการตรวจเลือดในอุจจาระ การตรวจลำไส้ใหญ่โดยการสวนแป้งแบเรียมเข้าไปทางทวารหนักและการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่
"โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ถึงแม้จะเป็นกันมากแต่ก็สามารถป้องกันได้ด้วยการรับประทานอาหารให้ครบทุกหมู่ ทานผักผลไม้เป็นประจำ หลีกเลี่ยงเนื้อสัตว์ส่วนที่ไหม้เกรียมจากการปิ้ง ย่าง ทอด รมควัน ลดอาหารไขมันสูง ควบคุมการขับถ่ายให้เป็นเวลา ส่วนผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไปหรือมีประวัติเคยเป็นโรคเกี่ยวกับทวารหนักและลำไส้ใหญ่อักเสบเรื้อรัง เนื้องอก หรือมีบิดา มารดา ญาติพี่น้อง เคยเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ ควรตรวจลำไส้และทวารหนักอย่างน้อยปีละครั้ง" อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าว
การดูแลสุขภาพให้ห่างไกลโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักควรเริ่มตั้งแต่เด็กโดยผู้ปกครองควรปลูกฝังให้เด็กทานอาหารที่มีประโยชน์ เช่น ปลาทะเล ผักผลไม้เพราะอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุหลายชนิดที่มีประโยชน์ต่อร่างกายช่วยให้ระบบย่อยอาหารและระบบขับถ่ายทำงานได้ดี ธัญพืชประเภทข้าวกล้อง ข้าวสาลี ข้าวโพด ลูกเดือย ธัญพืชที่ไม่ผ่านการขัดสีหรือขัดสีน้อยที่สุดจะมีคุณค่าทางโภชนาการสูง
นอกจากนี้ควรหลีกเลี่ยงทานของทอด มัน เค็ม หวาน ปิ้ง ย่าง หมักดอง รวมถึงอาหารที่ถนอมด้วยเกลือและดินประสิว ไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มสุรา ออกกำลังกายเป็นประจำทำจิตใจให้แจ่มใส ไม่เครียด ก็จะทำให้มีสุขภาพร่างกายแข็งแรงและช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งรวมถึงโรคต่าง ๆ ได้อีกด้วย
ขอบคุณเนื้อหาจาก กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
ภาพประกอบจาก istockphoto
นพ.สุพรรณ ศรีธรรมมา อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า ลำไส้ใหญ่เป็นส่วนล่างของระบบทางเดินอาหารติดต่อโดยตรงกับลำไส้เล็กและส่วนปลายสุดคือทวารหนัก มะเร็งลำไส้ใหญ่พบได้ทั้งชายและหญิงในอัตราที่ใกล้เคียงกัน โดยเฉพาะวัยกลางคนที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป เชื่อว่าเกิดจากหลายปัจจัยรวมกันทั้งด้านสิ่งแวดล้อมที่มีมลพิษ ด้านพฤติกรรมการทานอาหาร เช่น ทานเนื้อสัตว์มาก ทานอาหารที่มีไขมันสูง และทานผักผลไม้ที่มีกากใยน้อยเป็นประจำ เป็นต้น และด้านพันธุกรรม เช่น โรคบางอย่างของลำไส้ใหญ่ที่เป็นโรคทางพันธุกรรมหรือติ่งเนื้องอกในลำไส้บางชนิดที่อาจกลายเป็นมะเร็งได้
นพ.สุพรรณ กล่าวว่า ผู้ป่วยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ในระยะแรกอาจไม่มีอาการแสดงใดๆ หรืออาจมีแค่อาการปวดท้อง แน่นท้องคล้ายโรคกระเพาะอาหาร และเมื่อเป็นในระยะที่มากขึ้นอาจมีการเปลี่ยนแปลงนิสัยในการขับถ่ายอุจจาระทั้งจำนวนครั้งและลักษณะของอุจจาระที่ออกมา มีเลือดและมูกออกทางทวารหนัก ท้องอืด ท้องเฟ้อ เรื้อรัง โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ น้ำหนักลด อ่อนเพลีย ซีด หรือโลหิตจาง โดยไม่ทราบสาเหตุ คลำก้อนได้บริเวณท้อง และมีการอุดตันของลำไส้ใหญ่ หากมีอาการดังกล่าวควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยและรักษาอย่างถูกต้อง การตรวจพบมะเร็งลำไส้ใหญ่ตั้งแต่ระยะเริ่มต้นมีความสำคัญมากเพราะจะทำให้เพิ่มโอกาสการรักษาให้หายขาดได้ สำหรับการตรวจวินิจฉัยสามารถทำได้ด้วยการตรวจเลือดในอุจจาระ การตรวจลำไส้ใหญ่โดยการสวนแป้งแบเรียมเข้าไปทางทวารหนักและการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่
"โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ถึงแม้จะเป็นกันมากแต่ก็สามารถป้องกันได้ด้วยการรับประทานอาหารให้ครบทุกหมู่ ทานผักผลไม้เป็นประจำ หลีกเลี่ยงเนื้อสัตว์ส่วนที่ไหม้เกรียมจากการปิ้ง ย่าง ทอด รมควัน ลดอาหารไขมันสูง ควบคุมการขับถ่ายให้เป็นเวลา ส่วนผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไปหรือมีประวัติเคยเป็นโรคเกี่ยวกับทวารหนักและลำไส้ใหญ่อักเสบเรื้อรัง เนื้องอก หรือมีบิดา มารดา ญาติพี่น้อง เคยเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ ควรตรวจลำไส้และทวารหนักอย่างน้อยปีละครั้ง" อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าว
การดูแลสุขภาพให้ห่างไกลโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักควรเริ่มตั้งแต่เด็กโดยผู้ปกครองควรปลูกฝังให้เด็กทานอาหารที่มีประโยชน์ เช่น ปลาทะเล ผักผลไม้เพราะอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุหลายชนิดที่มีประโยชน์ต่อร่างกายช่วยให้ระบบย่อยอาหารและระบบขับถ่ายทำงานได้ดี ธัญพืชประเภทข้าวกล้อง ข้าวสาลี ข้าวโพด ลูกเดือย ธัญพืชที่ไม่ผ่านการขัดสีหรือขัดสีน้อยที่สุดจะมีคุณค่าทางโภชนาการสูง
นอกจากนี้ควรหลีกเลี่ยงทานของทอด มัน เค็ม หวาน ปิ้ง ย่าง หมักดอง รวมถึงอาหารที่ถนอมด้วยเกลือและดินประสิว ไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มสุรา ออกกำลังกายเป็นประจำทำจิตใจให้แจ่มใส ไม่เครียด ก็จะทำให้มีสุขภาพร่างกายแข็งแรงและช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งรวมถึงโรคต่าง ๆ ได้อีกด้วย
ขอบคุณเนื้อหาจาก กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
ภาพประกอบจาก istockphoto