สำหรับคนที่ไม่ได้ทำงานประจำแต่อยากทำประกันสังคมไว้ก็สามารถทำได้โดยแบ่งเป็น 2 กรณี คือ
หากไม่เคยทำงานประจำมาก่อนเลยและไม่เคยเป็นผู้ประกันตนในระบบของประกันสังคมมาก่อน และอยากทำประกันสังคม ก็สามารถสมัครเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ได้
สำหรับผู้ที่เคยทำงานประจำมาก่อน เคยเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 แต่ภายหลังลาออกจากงานประจำเพื่อมาทำอาชีพอิสระหรือไม่ได้ทำงานก็ตาม แต่ต้องการทำประกันสังคมต่อก็สามารถสมัครเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 ได้ แต่ต้องภายหลังจากลาออกจากงานไม่เกิน 6 เดือน เท่านั้น จึงจะสามารถสมัครเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 ได้ หากเกินกว่านั้นก็จะไม่มีสิทธิ์และหากต้องการสมัครก็จะต้องสมัครเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 40 เท่านั้น
เปรียบเทียบระหว่างมาตรา 39 และมาตรา 40
ผู้ประกันตนตามมาตรา 39 จะได้รับสิทธิ์มากกว่า โดยสิทธิ์ที่ผู้ประกันตนตามมาตรา 39 จะได้รับจะมีอยู่ 6 กรณีด้วยกัน คือ
กรณีเจ็บป่วย
คลอดบุตร
ทุพพลภาพ
เสียชีวิต
สงเคราะห์บุตรและ
ชราภาพ
โดยเงินสมทบที่จะต้องนำส่งประกันสังคม คือ เดือนละ 432 บาท
ส่วนสิทธิ์ที่ผู้ประกันตนตามมาตรา 40 จะได้รับมี 4 กรณีด้วยกัน คือ
ขาดรายได้เมื่อเจ็บป่วย
ขาดรายได้เมื่อทุพพลภาพ
เสียชีวิตและ
ชราภาพ (ส่วนของชราภาพ สามารถเลือกชุดสิทธิประโยชน์ที่จะรวมกรณีชราภาพหรือไม่รวมก็ได้) เงินสมทบกรณีที่ไม่รวมชราภาพ ส่งเงินสมทบ 100 บาทต่อเดือน (รัฐสนับสนุน 30 บาท จ่ายเอง 70 บาท)
ส่วนเงินสมทบกรณีรวมชราภาพส่ง 150 บาทต่อเดือน (รัฐสนับสนุน 50 บาท จ่ายเอง 100 บาท)
จากสิทธิ์ประโยชน์จะเห็นว่าผู้ประกันตนตามมาตรา 40 จะไม่ได้รับสิทธิ์กรณีเจ็บป่วย คลอดบุตรหรือสงเคราะห์บุตรเหมือนกับมาตรา 39 ดังนั้น หากเป็นกรณีของผู้ประกันตนที่เคยทำงานประจำ เคยอยู่ในระบบประกันสังคมตามมาตรา 33 มาก่อน หากอยากทำประกันสังคมต่อควรรีบดำเนินการภายใน 6 เดือน นับตั้งแต่ลาออกเพื่อให้สามารถสมัครเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 และได้รับสิทธิ์รักษาพยาบาลกรณีเจ็บป่วย รวมถึงการคลอดบุตรและการสงเคราะห์บุตรด้วย หากเรายังไม่เคยใช้สิทธิ์มาก่อน
ส่วนผู้ที่ไม่เคยทำงานประจำมาก่อน แต่อยากทำประกันสังคมก็จะมีแค่ทางเลือกเดียวคือสมัครเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ซึ่งสิทธิประโยชน์ที่ได้รับก็จะมีแค่ 3-4 กรณีที่เกี่ยวกับเรื่องเงินทดแทนรายได้เมื่อเจ็บป่วยหรือทุพพลภาพ เงินช่วยค่าทำศพกรณีเสียชีวิตและเงินชราภาพเท่านั้น แต่หากเจ็บป่วยต้องรักษาพยาบาลใช้สิทธิ์ประกันสังคมไม่ได้ ต้องไปใช้สิทธิ์ของบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้าหรือบัตรทองซึ่งไม่เสียค่าใช้จ่าย
เงิน 100 บาท หรือ 150 บาท ที่จ่ายรายเดือนสำหรับการประกันตนตามมาตรา 40 ถือว่าคุ้มค่าหรือไม่ เราลองมาดูกันค่ะ
เงินทดแทนการขาดรายได้กรณีเจ็บป่วยจะเบิกได้ต่อเมื่อเป็นผู้ป่วยในและต้องนอนโรงพยาบาลตั้งแต่ 1 วันขึ้นไปเท่านั้น จึงจะได้รับเงินทดแทนรายได้เป็นเงิน 200 บาทต่อวัน ไม่เกิน 30 วันต่อปี โดยมีเงื่อนไขว่าต้องจ่ายเงินสมทบครบ 3 เดือน ภายใน 4 เดือน
เงินทดแทนการขาดรายได้กรณีทุพพลภาพจะได้รับเงินทดแทน 500-1,000 บาทต่อเดือน เป็นเวลา 15 ปี หากสมทบ 6 เดือน ภายใน 10 เดือน รับ 500 บาทต่อเดือน หากสมทบ 12 เดือน ภายใน 20 เดือน รับ 600 บาทต่อเดือน หากสมทบ 24 เดือน ภายใน 40 เดือน รับ 800 บาทต่อเดือน และหากสมทบ 36 เดือน ภายใน 60 เดือน รับ 1,000 บาทต่อเดือน
ค่าทำศพ 20,000 บาท กรณีเสียชีวิต โดยมีเงื่อนไขต้องสมทบ 6 เดือน ภายใน 12 เดือน
เงินบำเหน็จชราภาพรับเป็นก้อนเมื่อมีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ โดยจะได้รับบำเหน็จเท่ากับเงินที่ส่งไปพร้อมดอกเบี้ยคืนทั้งหมด
สำหรับผู้ที่ไม่ได้ทำงานประจำแต่ต้องการทำประกันสังคมมาตรา 40 ก็ลองเปรียบเทียบระหว่างเงินที่ต้องส่งสมทบ 100 หรือ 150 บาทต่อเดือน หากส่ง 150 บาทที่รวมกรณีชราภาพด้วยสุดท้ายแล้วเงินที่เราส่งก็ไม่ได้หายไปไหน เราจะได้เงินนี้คืนพร้อมดอกเบี้ยเป็นเงินก้อนเมื่อเราอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ ถือเป็นบำเหน็จชราภาพ โดยที่ระหว่างนั้นในขณะที่เราส่งเงินสมทบอยู่ เราก็จะได้สิทธิ์ในการเบิกเงินทดแทนการขาดรายได้ของเราทั้งในกรณีเจ็บป่วยหรือทุพพลภาพเพิ่มเติมด้วย และหากเสียชีวิตก็จะได้รับเงินค่าทำศพ 20,000 บาท
ในขณะที่การรักษาพยาบาลกรณีเจ็บป่วยก็ใช้บัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้าหรือบัตรทองที่ไม่เสียค่าใช้จ่าย แต่หากเราเจ็บป่วยต้องรักษาตัวที่โรงพยาบาลทำให้ไม่สามารถทำงานมีรายได้ เงิน 200 บาทต่อวันที่เป็นเงินทดแทนรายได้กรณีเจ็บป่วยก็อาจเป็นเงินที่ช่วยค่าใช้จ่ายของเราได้บ้างเช่นกัน หรือหากโชคร้ายเกิดทุพพลภาพขึ้น ประกันสังคมก็จะช่วยเหลือเงินเป็นรายได้สูงสุดถึง 1,000 บาท เป็นเวลานานถึง 15 ปีอีกด้วย
หากจะเปรียบเทียบเงินสมทบ 100 บาทกับ 150 บาทที่ต้องส่งประกันสังคมรายเดือน บางครั้งเราอาจจะไม่เห็นภาพ ให้ลองคิดเป็นรายวัน ตกวันละ 3 บาท และ 5 บาทเท่านั้น นึกถึงเงิน 5 บาทที่แทบไม่มีมูลค่าอะไรกับเราเลยในทุกวันนี้ใน 1 วัน หากจะใช้เพื่อสามารถซื้อสิทธิ์อะไรบางอย่างให้กับเราได้ ก็ไม่ควรต้องคิดหรือตัดสินใจมากนักก็ได้ค่ะ
สำหรับคนที่ไม่ได้ทำงานประจำแต่อยากทำประกันสังคม ก็สามารถยื่นสมัครได้โดยให้เตรียมหลักฐานคือบัตรประชาชน พร้อมสำเนารับรองสำเนาถูกต้องและแบบคำขอสมัครเป็นผู้ประกันตนมาตรา 40 (สปส.1-40) และนำไปยื่นได้ที่สำนักงานประกันสังคมทุกแห่งทั่วประเทศ และการส่งเงินสมทบก็สามารถเลือกให้หักผ่านบัญชีธนาคาร หรือจะชำระเองที่สำนักงานประกันสังคม เคาน์เตอร์เซอร์วิส เคาน์เตอร์ธนาคารกรุงไทยหรือกรุงศรีอยุธยา ห้างเทสโก้โลตัสหรือไปรษณีย์ทุกแห่ง
สนับสนุนเนื้อหาโดย MoneyHub
หากไม่เคยทำงานประจำมาก่อนเลยและไม่เคยเป็นผู้ประกันตนในระบบของประกันสังคมมาก่อน และอยากทำประกันสังคม ก็สามารถสมัครเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ได้
สำหรับผู้ที่เคยทำงานประจำมาก่อน เคยเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 แต่ภายหลังลาออกจากงานประจำเพื่อมาทำอาชีพอิสระหรือไม่ได้ทำงานก็ตาม แต่ต้องการทำประกันสังคมต่อก็สามารถสมัครเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 ได้ แต่ต้องภายหลังจากลาออกจากงานไม่เกิน 6 เดือน เท่านั้น จึงจะสามารถสมัครเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 ได้ หากเกินกว่านั้นก็จะไม่มีสิทธิ์และหากต้องการสมัครก็จะต้องสมัครเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 40 เท่านั้น
เปรียบเทียบระหว่างมาตรา 39 และมาตรา 40
ผู้ประกันตนตามมาตรา 39 จะได้รับสิทธิ์มากกว่า โดยสิทธิ์ที่ผู้ประกันตนตามมาตรา 39 จะได้รับจะมีอยู่ 6 กรณีด้วยกัน คือ
กรณีเจ็บป่วย
คลอดบุตร
ทุพพลภาพ
เสียชีวิต
สงเคราะห์บุตรและ
ชราภาพ
โดยเงินสมทบที่จะต้องนำส่งประกันสังคม คือ เดือนละ 432 บาท
ส่วนสิทธิ์ที่ผู้ประกันตนตามมาตรา 40 จะได้รับมี 4 กรณีด้วยกัน คือ
ขาดรายได้เมื่อเจ็บป่วย
ขาดรายได้เมื่อทุพพลภาพ
เสียชีวิตและ
ชราภาพ (ส่วนของชราภาพ สามารถเลือกชุดสิทธิประโยชน์ที่จะรวมกรณีชราภาพหรือไม่รวมก็ได้) เงินสมทบกรณีที่ไม่รวมชราภาพ ส่งเงินสมทบ 100 บาทต่อเดือน (รัฐสนับสนุน 30 บาท จ่ายเอง 70 บาท)
ส่วนเงินสมทบกรณีรวมชราภาพส่ง 150 บาทต่อเดือน (รัฐสนับสนุน 50 บาท จ่ายเอง 100 บาท)
จากสิทธิ์ประโยชน์จะเห็นว่าผู้ประกันตนตามมาตรา 40 จะไม่ได้รับสิทธิ์กรณีเจ็บป่วย คลอดบุตรหรือสงเคราะห์บุตรเหมือนกับมาตรา 39 ดังนั้น หากเป็นกรณีของผู้ประกันตนที่เคยทำงานประจำ เคยอยู่ในระบบประกันสังคมตามมาตรา 33 มาก่อน หากอยากทำประกันสังคมต่อควรรีบดำเนินการภายใน 6 เดือน นับตั้งแต่ลาออกเพื่อให้สามารถสมัครเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 และได้รับสิทธิ์รักษาพยาบาลกรณีเจ็บป่วย รวมถึงการคลอดบุตรและการสงเคราะห์บุตรด้วย หากเรายังไม่เคยใช้สิทธิ์มาก่อน
ส่วนผู้ที่ไม่เคยทำงานประจำมาก่อน แต่อยากทำประกันสังคมก็จะมีแค่ทางเลือกเดียวคือสมัครเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ซึ่งสิทธิประโยชน์ที่ได้รับก็จะมีแค่ 3-4 กรณีที่เกี่ยวกับเรื่องเงินทดแทนรายได้เมื่อเจ็บป่วยหรือทุพพลภาพ เงินช่วยค่าทำศพกรณีเสียชีวิตและเงินชราภาพเท่านั้น แต่หากเจ็บป่วยต้องรักษาพยาบาลใช้สิทธิ์ประกันสังคมไม่ได้ ต้องไปใช้สิทธิ์ของบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้าหรือบัตรทองซึ่งไม่เสียค่าใช้จ่าย
เงิน 100 บาท หรือ 150 บาท ที่จ่ายรายเดือนสำหรับการประกันตนตามมาตรา 40 ถือว่าคุ้มค่าหรือไม่ เราลองมาดูกันค่ะ
เงินทดแทนการขาดรายได้กรณีเจ็บป่วยจะเบิกได้ต่อเมื่อเป็นผู้ป่วยในและต้องนอนโรงพยาบาลตั้งแต่ 1 วันขึ้นไปเท่านั้น จึงจะได้รับเงินทดแทนรายได้เป็นเงิน 200 บาทต่อวัน ไม่เกิน 30 วันต่อปี โดยมีเงื่อนไขว่าต้องจ่ายเงินสมทบครบ 3 เดือน ภายใน 4 เดือน
เงินทดแทนการขาดรายได้กรณีทุพพลภาพจะได้รับเงินทดแทน 500-1,000 บาทต่อเดือน เป็นเวลา 15 ปี หากสมทบ 6 เดือน ภายใน 10 เดือน รับ 500 บาทต่อเดือน หากสมทบ 12 เดือน ภายใน 20 เดือน รับ 600 บาทต่อเดือน หากสมทบ 24 เดือน ภายใน 40 เดือน รับ 800 บาทต่อเดือน และหากสมทบ 36 เดือน ภายใน 60 เดือน รับ 1,000 บาทต่อเดือน
ค่าทำศพ 20,000 บาท กรณีเสียชีวิต โดยมีเงื่อนไขต้องสมทบ 6 เดือน ภายใน 12 เดือน
เงินบำเหน็จชราภาพรับเป็นก้อนเมื่อมีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ โดยจะได้รับบำเหน็จเท่ากับเงินที่ส่งไปพร้อมดอกเบี้ยคืนทั้งหมด
สำหรับผู้ที่ไม่ได้ทำงานประจำแต่ต้องการทำประกันสังคมมาตรา 40 ก็ลองเปรียบเทียบระหว่างเงินที่ต้องส่งสมทบ 100 หรือ 150 บาทต่อเดือน หากส่ง 150 บาทที่รวมกรณีชราภาพด้วยสุดท้ายแล้วเงินที่เราส่งก็ไม่ได้หายไปไหน เราจะได้เงินนี้คืนพร้อมดอกเบี้ยเป็นเงินก้อนเมื่อเราอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ ถือเป็นบำเหน็จชราภาพ โดยที่ระหว่างนั้นในขณะที่เราส่งเงินสมทบอยู่ เราก็จะได้สิทธิ์ในการเบิกเงินทดแทนการขาดรายได้ของเราทั้งในกรณีเจ็บป่วยหรือทุพพลภาพเพิ่มเติมด้วย และหากเสียชีวิตก็จะได้รับเงินค่าทำศพ 20,000 บาท
ในขณะที่การรักษาพยาบาลกรณีเจ็บป่วยก็ใช้บัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้าหรือบัตรทองที่ไม่เสียค่าใช้จ่าย แต่หากเราเจ็บป่วยต้องรักษาตัวที่โรงพยาบาลทำให้ไม่สามารถทำงานมีรายได้ เงิน 200 บาทต่อวันที่เป็นเงินทดแทนรายได้กรณีเจ็บป่วยก็อาจเป็นเงินที่ช่วยค่าใช้จ่ายของเราได้บ้างเช่นกัน หรือหากโชคร้ายเกิดทุพพลภาพขึ้น ประกันสังคมก็จะช่วยเหลือเงินเป็นรายได้สูงสุดถึง 1,000 บาท เป็นเวลานานถึง 15 ปีอีกด้วย
หากจะเปรียบเทียบเงินสมทบ 100 บาทกับ 150 บาทที่ต้องส่งประกันสังคมรายเดือน บางครั้งเราอาจจะไม่เห็นภาพ ให้ลองคิดเป็นรายวัน ตกวันละ 3 บาท และ 5 บาทเท่านั้น นึกถึงเงิน 5 บาทที่แทบไม่มีมูลค่าอะไรกับเราเลยในทุกวันนี้ใน 1 วัน หากจะใช้เพื่อสามารถซื้อสิทธิ์อะไรบางอย่างให้กับเราได้ ก็ไม่ควรต้องคิดหรือตัดสินใจมากนักก็ได้ค่ะ
สำหรับคนที่ไม่ได้ทำงานประจำแต่อยากทำประกันสังคม ก็สามารถยื่นสมัครได้โดยให้เตรียมหลักฐานคือบัตรประชาชน พร้อมสำเนารับรองสำเนาถูกต้องและแบบคำขอสมัครเป็นผู้ประกันตนมาตรา 40 (สปส.1-40) และนำไปยื่นได้ที่สำนักงานประกันสังคมทุกแห่งทั่วประเทศ และการส่งเงินสมทบก็สามารถเลือกให้หักผ่านบัญชีธนาคาร หรือจะชำระเองที่สำนักงานประกันสังคม เคาน์เตอร์เซอร์วิส เคาน์เตอร์ธนาคารกรุงไทยหรือกรุงศรีอยุธยา ห้างเทสโก้โลตัสหรือไปรษณีย์ทุกแห่ง
สนับสนุนเนื้อหาโดย MoneyHub