นอกจากสมอง หัวใจ
และระบบไหลเวียนของโลหิตที่ว่าสำคัญกับร่างกายเป็นอันดับต้นๆ แล้ว
ระบบย่อยอาหารก็ถือว่าเป็นเรื่องที่พวกเราทุกคนไม่ควรมองข้าม
เพราะทุกสิ่งที่เราทานเข้าไปต้องได้รับการย่อย และดูดซึมอย่างเป็นระบบ
หากอวัยวะที่ใช้ในการย่อยอาหารเริ่มทำงานขัดข้อง
จะส่งผลเสียต่อร่างกายมากมาย และอาจอันตรายถึงแก่ชีวิตได้
หากใครมีอาการดังต่อไปนี้ ขอให้ทราบว่าเป็นสัญญาณเริ่มต้นที่เริ่มบ่งบอกว่าระบบย่อยอาหารของคุณอาจมีปัญหาค่ะ
1. ปวดท้อง
ใครๆ ก็ปวดท้องได้ อาจจะมีความผิดปกติที่เกิดขึ้น แล้วหายไป แต่ใครที่ปวดท้องที่เดิมบ่อยๆ อาจเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงปัญหา หรือโรคร้ายอะไรบางอย่างได้
ปวดท้องด้านขวาตอนบน อาจเกิดจากโรคตับ และถุงน้ำดี
ปวดท้องบริเวณใต้ซี่โครง อาจเกิดขึ้นพร้อมกับอาการแสบกระเพาะอาหาร จึงอาจเป็นโรคกระเพาะ และลำไส้อักเสบ และบางครั้งโรคต่างๆ ที่เกิดขึ้นที่ถุงน้ำดีก็อาจเกิดขึ้นในบริเวณส่วนท้องที่เป็นแอ่งได้
ปวดท้องส่วนกลาง อาจเป็นโรคที่เกิดขึ้นที่ลำไส้เล็ก และลำไส้ใหญ่ และอาจเป็นไส้ติ่งอักเสบ เพราะมักมีอาการปวดท้องที่บริเวณนี้ก่อน แล้วจึงเลื่อนมาเป็นส่วนล่าง
ปวดท้องด้านซ้ายตอนบน อาจมีสาเหตุมาจากโรคต่างๆ ที่เกิดในลำไส้ใหญ่ เช่น โรคท้องผูกหรืออาการหดเกร็งของกล้ามเนื้อลำไส้ใหญ่ แต่หากมีอาการแสบกระเพาะอาหาร ก็อาจเกิดจากกรดและอาการเจ็บปวดเนื่องจากแผลในกระเพาะ
ปวดท้องด้านขวาตอนล่าง อาจเป็นอาการของไส้ติ่งอักเสบอย่างเฉียบพลัน หรืออาการอักเสบของลำไส้
ปวดท้องด้านซ้ายตอนล่าง หากมีอาการปวดและคลายสลับกัน พร้อมกับอาการท้องร่วง หรือเกิดจากอาการท้องผูก อาจเกิดจากโรคถุงผนังที่ลำไส้ใหญ่อักเสบ หรือมีความผิดปกติ เช่น ถุงน้ำ หรือเนื้องอกที่รังไข่ หรือมดลูก
2. ท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นจุกเสียด
คนที่ระบบการย่อยอาหารเริ่มมีปัญหา อาจมีอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นจุกเสียดท้องหลังรับประทานอาหาร หากมีอาการมากๆ ท้องจะเกร็ง และอาจมีอาการข้างเคียงอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น เรอบ่อย เรอเหม็นเปรี้ยว ผายลมบ่อย ท้องใหญ่ขึ้น หรือท้องผูก และท้องเสียร่วมด้วย ผู้ที่มีอาการดังกล่าวจะยังคงรับประทานอาหารได้ตามปกติ น้ำหนักไม่ลด และส่วนมากมักมีน้ำหนักเกิน อาการเหล่านี้หากเป็นบ่อยๆ อาจสันนิษฐานว่ากระเพาะอาหาร หรือลำไส้ทำงานไม่ปกติ
3. กลืนลำบาก
อาการกลืนอาหารลำบาก อาจเกิดจากก้อนเนื้อ หรือก้อนมะเร็งในทางเดินอาการ หรือหลอดอาหารได้ แต่อาจเป็นเพราะระบบการเคลื่อนไหวของหลอดอาหาร หรือระบบประสาททำงานไม่ดีได้ด้วยเช่นกัน หากกลืนอาหารประเภทของแข็ง เช่น เนื้อสัตว์ แล้วติด โดยเฉพาะตรงกลางอก อาจสันนิษฐานว่ามีก้อนเนื้อ หรือก้อนมะเร็งอยู่ในหลอดอาหาร หรือบริเวณใกล้เคียง แต่หากกลืนอาหารทั้งของเหลว และของแข็งได้ลำบากตั้งแต่ต้น อาจเกิดจากการบีบตัวไม่เป็นจังหวะของหลอดอาหาร อาการนี้อาจเป็นๆ หายๆ ได้เช่นกัน
4. แสบกลางอก
หากมีอาการแสบกลางอกโดยเฉพาะในตอนกลางคืน สันนิษฐานว่าอาจเป็นโรคกรดไหลย้อน เกิดจากหูรูดที่หลอดอาหารปิดไม่ค่อยสนิท กรดที่ไหลย้อนขึ้นมานี้อาจทำให้อักเสบ เป็นแผล หรือเลือดออกได้ อาการชัดเจนคือ แสบร้อนกลางอก และจะมีอาการดังกล่าวในเวลานอนตอนกลางคืน เวลานอนอาจจะมีอาการไอ สำลัก หอบ ซึ่งอาจทำให้นึกว่าเป็นโรคปอด โรคหัวใจ แต่ไม่ใช่ เพราะฉะนั้นคนที่มีอาการตอนกลางคืนต้องนึกถึงกรดไหลย้อนด้วย นอกจากนี้หลังอาหารมื้อหนัก หากยกของหนัก หรือนอนหงายกรดก็จะไหลขึ้นมาทำให้เกิดอาการแสบได้เช่นกัน
หากใครมีอาการผิดปกติดังกล่าวบ่อยๆ อาจเกิดขึ้นมากกว่า 2-3 ครั้งใน 1 อาทิตย์ หรือมีอาการไม่บ่อย แต่เป็นๆ หายๆ บ่อยๆ ควรเข้ารับการตรวจอย่างละเอียดจากแพทย์จะดีที่สุดค่ะ เพราะหากปล่อยให้อาการนี้ลามเรื่อยๆ โดยไม่ได้รับการรักษา อาจทำให้รักษายากขึ้น และไม่หายขาดได้นะคะ
ขอบคุณข้อมูลบางส่วนจาก ชีวจิต
ภาพประกอบจาก istockphoto
หากใครมีอาการดังต่อไปนี้ ขอให้ทราบว่าเป็นสัญญาณเริ่มต้นที่เริ่มบ่งบอกว่าระบบย่อยอาหารของคุณอาจมีปัญหาค่ะ
1. ปวดท้อง
ใครๆ ก็ปวดท้องได้ อาจจะมีความผิดปกติที่เกิดขึ้น แล้วหายไป แต่ใครที่ปวดท้องที่เดิมบ่อยๆ อาจเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงปัญหา หรือโรคร้ายอะไรบางอย่างได้
ปวดท้องด้านขวาตอนบน อาจเกิดจากโรคตับ และถุงน้ำดี
ปวดท้องบริเวณใต้ซี่โครง อาจเกิดขึ้นพร้อมกับอาการแสบกระเพาะอาหาร จึงอาจเป็นโรคกระเพาะ และลำไส้อักเสบ และบางครั้งโรคต่างๆ ที่เกิดขึ้นที่ถุงน้ำดีก็อาจเกิดขึ้นในบริเวณส่วนท้องที่เป็นแอ่งได้
ปวดท้องส่วนกลาง อาจเป็นโรคที่เกิดขึ้นที่ลำไส้เล็ก และลำไส้ใหญ่ และอาจเป็นไส้ติ่งอักเสบ เพราะมักมีอาการปวดท้องที่บริเวณนี้ก่อน แล้วจึงเลื่อนมาเป็นส่วนล่าง
ปวดท้องด้านซ้ายตอนบน อาจมีสาเหตุมาจากโรคต่างๆ ที่เกิดในลำไส้ใหญ่ เช่น โรคท้องผูกหรืออาการหดเกร็งของกล้ามเนื้อลำไส้ใหญ่ แต่หากมีอาการแสบกระเพาะอาหาร ก็อาจเกิดจากกรดและอาการเจ็บปวดเนื่องจากแผลในกระเพาะ
ปวดท้องด้านขวาตอนล่าง อาจเป็นอาการของไส้ติ่งอักเสบอย่างเฉียบพลัน หรืออาการอักเสบของลำไส้
ปวดท้องด้านซ้ายตอนล่าง หากมีอาการปวดและคลายสลับกัน พร้อมกับอาการท้องร่วง หรือเกิดจากอาการท้องผูก อาจเกิดจากโรคถุงผนังที่ลำไส้ใหญ่อักเสบ หรือมีความผิดปกติ เช่น ถุงน้ำ หรือเนื้องอกที่รังไข่ หรือมดลูก
2. ท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นจุกเสียด
คนที่ระบบการย่อยอาหารเริ่มมีปัญหา อาจมีอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นจุกเสียดท้องหลังรับประทานอาหาร หากมีอาการมากๆ ท้องจะเกร็ง และอาจมีอาการข้างเคียงอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น เรอบ่อย เรอเหม็นเปรี้ยว ผายลมบ่อย ท้องใหญ่ขึ้น หรือท้องผูก และท้องเสียร่วมด้วย ผู้ที่มีอาการดังกล่าวจะยังคงรับประทานอาหารได้ตามปกติ น้ำหนักไม่ลด และส่วนมากมักมีน้ำหนักเกิน อาการเหล่านี้หากเป็นบ่อยๆ อาจสันนิษฐานว่ากระเพาะอาหาร หรือลำไส้ทำงานไม่ปกติ
3. กลืนลำบาก
อาการกลืนอาหารลำบาก อาจเกิดจากก้อนเนื้อ หรือก้อนมะเร็งในทางเดินอาการ หรือหลอดอาหารได้ แต่อาจเป็นเพราะระบบการเคลื่อนไหวของหลอดอาหาร หรือระบบประสาททำงานไม่ดีได้ด้วยเช่นกัน หากกลืนอาหารประเภทของแข็ง เช่น เนื้อสัตว์ แล้วติด โดยเฉพาะตรงกลางอก อาจสันนิษฐานว่ามีก้อนเนื้อ หรือก้อนมะเร็งอยู่ในหลอดอาหาร หรือบริเวณใกล้เคียง แต่หากกลืนอาหารทั้งของเหลว และของแข็งได้ลำบากตั้งแต่ต้น อาจเกิดจากการบีบตัวไม่เป็นจังหวะของหลอดอาหาร อาการนี้อาจเป็นๆ หายๆ ได้เช่นกัน
4. แสบกลางอก
หากมีอาการแสบกลางอกโดยเฉพาะในตอนกลางคืน สันนิษฐานว่าอาจเป็นโรคกรดไหลย้อน เกิดจากหูรูดที่หลอดอาหารปิดไม่ค่อยสนิท กรดที่ไหลย้อนขึ้นมานี้อาจทำให้อักเสบ เป็นแผล หรือเลือดออกได้ อาการชัดเจนคือ แสบร้อนกลางอก และจะมีอาการดังกล่าวในเวลานอนตอนกลางคืน เวลานอนอาจจะมีอาการไอ สำลัก หอบ ซึ่งอาจทำให้นึกว่าเป็นโรคปอด โรคหัวใจ แต่ไม่ใช่ เพราะฉะนั้นคนที่มีอาการตอนกลางคืนต้องนึกถึงกรดไหลย้อนด้วย นอกจากนี้หลังอาหารมื้อหนัก หากยกของหนัก หรือนอนหงายกรดก็จะไหลขึ้นมาทำให้เกิดอาการแสบได้เช่นกัน
หากใครมีอาการผิดปกติดังกล่าวบ่อยๆ อาจเกิดขึ้นมากกว่า 2-3 ครั้งใน 1 อาทิตย์ หรือมีอาการไม่บ่อย แต่เป็นๆ หายๆ บ่อยๆ ควรเข้ารับการตรวจอย่างละเอียดจากแพทย์จะดีที่สุดค่ะ เพราะหากปล่อยให้อาการนี้ลามเรื่อยๆ โดยไม่ได้รับการรักษา อาจทำให้รักษายากขึ้น และไม่หายขาดได้นะคะ
ขอบคุณข้อมูลบางส่วนจาก ชีวจิต
ภาพประกอบจาก istockphoto