โครงการสินเชื่อประชารัฐเพื่อประชาชน ธนาคารออมสิน ใครจะสามารถยื่นขอกู้เงินได้บ้าง เสียดอกเบี้ยเท่าไร มาทำความเข้าใจกัน
คนประกอบอาชีพอิสระคงได้เฮกับข่าวที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2559 ไฟเขียวมาตรการ "สินเชื่อประชารัฐเพื่อประชาชน" เพื่อ ให้ผู้ประกอบอาชีพอิสระรายย่อยสามารถขอสินเชื่อมาเป็นเงินทุนหมุนเวียนได้ โดยปีแรกไม่คิดดอกเบี้ย และให้เวลาชำระเงินกู้ 5 ปี วันนี้กระปุกดอทคอม จะพาไปดูรายละเอียดของโครงการสินเชื่อประชารัฐเพื่อประชาชน แบบชัด ๆ กันอีกครั้ง
สินเชื่อประชารัฐ ให้ใครกู้เงินได้บ้าง ?
สำหรับผู้ที่จะขอสินเชื่อประชารัฐได้นั้น จะต้องมีคุณสมบัติดังนี้
- เป็นผู้ประกอบอาชีพอิสระรายย่อย เช่น พ่อค้า แม่ค้า ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์รับจ้าง ผู้ให้บริการรถรับจ้างสาธารณะ กลุ่มแม่บ้านที่รวมตัวกันเป็นวิสาหกิจชุมชน หรือผู้รับจ้างให้บริการทั่วไป
- มีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป และเมื่อรวมอายุผู้กู้ กับระยะเวลาที่ชำระเงินกู้ต้องไม่เกิน 65 ปี
- เป็นผู้มีถิ่นที่อยู่แน่นอน สามารถติดต่อได้
กู้เงินสินเชื่อประชารัฐเพื่อประชาชนไปเพื่ออะไร ?
รัฐบาลออกมาตรการนี้เพื่อให้เป็นเงินทุนหรือทุนหมุนเวียนในการประกอบอาชีพ แก้ปัญหาและบรรเทาความเดือดร้อนในการดำรงชีพ และชำระหนี้สินอื่น ๆ รวมทั้งหนี้นอกระบบ
โครงการสินเชื่อประชารัฐ กำหนดวงเงินกู้ไว้เท่าไร ?
ไม่เกินรายละ 50,000 บาท ทั้งนี้ เมื่อรวมจำนวนเงินกู้คงเหลือตามสัญญาเดิมของสินเชื่อโครงการธนาคารประชาชน ทุกประเภท กับจำนวนเงินที่ขอกู้ในครั้งนี้ ต้องไม่เกิน 200,000 ต่อราย
สินเชื่อประชารัฐ มีระยะเวลาชำระคืนเงินกู้นานแค่ไหน ?
ชำระเงินคืนภายใน 5 ปี (60 งวด)
โครงการสินเชื่อประชารัฐ คิดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้เท่าไร ?
- ปีที่ 1 ร้อยละ 0.00 ต่อเดือน
- ปีที่ 2-5 ร้อยละ 1.00 ต่อเดือน
กรณีที่ผิดนัดชำระหนี้ธนาคารจะคิดดอกเบี้ย และดอกเบี้ยปรับในอัตราที่ธนาคารกำหนด
ยื่นขอสินเชื่อประชารัฐเพื่อประชาชนได้ที่ไหน ถึงวันที่เท่าไร ?
สามารถขอสินเชื่อประชารัฐได้ที่ธนาคารออมสิน ตั้งแต่วันนี้-30 ธันวาคม 2559
ขอสินเชื่อประชารัฐต้องใช้หลักประกันอะไรบ้าง ?
ต้องมีบุคคลค้ำประกันและหลักประกันอื่น ๆ คือ
บุคคลค้ำประกัน
ผู้ค้ำประกันต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
- มีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป และเมื่อรวมอายุผู้ค้ำประกันกับระยะเวลาที่ชำระเงินกู้ต้องไม่เกิน 65 ปี
- เป็นผู้มีอาชีพและรายได้แน่นอน
- เป็นผู้มีถิ่นที่อยู่แน่นอน สามารถติดต่อได้
- ค้ำประกันผู้กู้ได้ ไม่เกิน 2 คน
หลักประกันประเภทอื่น
สามารถใช้หลักประกันที่เป็นของผู้กู้ หรือของบุคคลอื่นที่ยินยอมให้ใช้ค้ำประกันได้ ดังนี้
- สมุดฝากเงินออมสินและ หรือสลากออมสินพิเศษ ให้กู้ได้ไม่เกินร้อยละ 95 ของจำนวนเงินฝากคงเหลือในสมุดฝากเงินออมสิน หรือให้กู้ได้ไม่เกิน ร้อยละ 95 ของมูลค่าสลากออมสินพิเศษ
- อสังหาริมทรัพย์ที่ซึ่งตั้งอยู่ในแหล่งชุมชนที่มีความเจริญ มีไฟฟ้า สาธารณูปโภคอื่น ๆ ตามความจำเป็น และมีทางสาธารณประโยชน์ซึ่งสามารถเข้า-ออกได้สะดวก โดยให้กู้ได้ ดังนี้
● ไม่เกินร้อยละ 80 ของราคาประเมินที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง
● ไม่เกินร้อยละ 70 ของราคาประเมินที่ดินว่างเปล่าหรือห้องชุด
● ไม่เกินร้อยละ 60 ของราคาประเมินที่ดินที่เป็นที่สวน ที่ไร่ ที่นา
บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) โครงการค้ำประกันสินเชื่อเพื่อผู้ประกอบการ Micro Entrepreneurs ค้ำประกันโดยธนาคารเป็นผู้จ่ายค่าธรรมเนียมค้ำประกันในอัตราร้อยละ 2 ต่อปี ของภาระค้ำประกันให้แก่ผู้กู้ ตั้งแต่ปีที่ 2 เป็นต้นไป ตลอดอายุสัญญา
ทั้งนี้ ธนาคารออมสินคิดค่าธรรมเนียมการให้บริการสินเชื่อคิดในอัตราร้อยละ 1 ของวงเงินสินเชื่อที่ขอกู้ธนาคาร
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก
ธนาคารออมสิน, กรมประชาสัมพันธ์, กระทรวงการคลัง
คนประกอบอาชีพอิสระคงได้เฮกับข่าวที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2559 ไฟเขียวมาตรการ "สินเชื่อประชารัฐเพื่อประชาชน" เพื่อ ให้ผู้ประกอบอาชีพอิสระรายย่อยสามารถขอสินเชื่อมาเป็นเงินทุนหมุนเวียนได้ โดยปีแรกไม่คิดดอกเบี้ย และให้เวลาชำระเงินกู้ 5 ปี วันนี้กระปุกดอทคอม จะพาไปดูรายละเอียดของโครงการสินเชื่อประชารัฐเพื่อประชาชน แบบชัด ๆ กันอีกครั้ง
สินเชื่อประชารัฐ ให้ใครกู้เงินได้บ้าง ?
สำหรับผู้ที่จะขอสินเชื่อประชารัฐได้นั้น จะต้องมีคุณสมบัติดังนี้
- เป็นผู้ประกอบอาชีพอิสระรายย่อย เช่น พ่อค้า แม่ค้า ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์รับจ้าง ผู้ให้บริการรถรับจ้างสาธารณะ กลุ่มแม่บ้านที่รวมตัวกันเป็นวิสาหกิจชุมชน หรือผู้รับจ้างให้บริการทั่วไป
- มีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป และเมื่อรวมอายุผู้กู้ กับระยะเวลาที่ชำระเงินกู้ต้องไม่เกิน 65 ปี
- เป็นผู้มีถิ่นที่อยู่แน่นอน สามารถติดต่อได้
กู้เงินสินเชื่อประชารัฐเพื่อประชาชนไปเพื่ออะไร ?
รัฐบาลออกมาตรการนี้เพื่อให้เป็นเงินทุนหรือทุนหมุนเวียนในการประกอบอาชีพ แก้ปัญหาและบรรเทาความเดือดร้อนในการดำรงชีพ และชำระหนี้สินอื่น ๆ รวมทั้งหนี้นอกระบบ
โครงการสินเชื่อประชารัฐ กำหนดวงเงินกู้ไว้เท่าไร ?
ไม่เกินรายละ 50,000 บาท ทั้งนี้ เมื่อรวมจำนวนเงินกู้คงเหลือตามสัญญาเดิมของสินเชื่อโครงการธนาคารประชาชน ทุกประเภท กับจำนวนเงินที่ขอกู้ในครั้งนี้ ต้องไม่เกิน 200,000 ต่อราย
สินเชื่อประชารัฐ มีระยะเวลาชำระคืนเงินกู้นานแค่ไหน ?
ชำระเงินคืนภายใน 5 ปี (60 งวด)
โครงการสินเชื่อประชารัฐ คิดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้เท่าไร ?
- ปีที่ 1 ร้อยละ 0.00 ต่อเดือน
- ปีที่ 2-5 ร้อยละ 1.00 ต่อเดือน
กรณีที่ผิดนัดชำระหนี้ธนาคารจะคิดดอกเบี้ย และดอกเบี้ยปรับในอัตราที่ธนาคารกำหนด
ยื่นขอสินเชื่อประชารัฐเพื่อประชาชนได้ที่ไหน ถึงวันที่เท่าไร ?
สามารถขอสินเชื่อประชารัฐได้ที่ธนาคารออมสิน ตั้งแต่วันนี้-30 ธันวาคม 2559
ภาพจาก Ging o_o / Shutterstock.com
ขอสินเชื่อประชารัฐต้องใช้หลักประกันอะไรบ้าง ?
ต้องมีบุคคลค้ำประกันและหลักประกันอื่น ๆ คือ
บุคคลค้ำประกัน
ผู้ค้ำประกันต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
- มีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป และเมื่อรวมอายุผู้ค้ำประกันกับระยะเวลาที่ชำระเงินกู้ต้องไม่เกิน 65 ปี
- เป็นผู้มีอาชีพและรายได้แน่นอน
- เป็นผู้มีถิ่นที่อยู่แน่นอน สามารถติดต่อได้
- ค้ำประกันผู้กู้ได้ ไม่เกิน 2 คน
หลักประกันประเภทอื่น
สามารถใช้หลักประกันที่เป็นของผู้กู้ หรือของบุคคลอื่นที่ยินยอมให้ใช้ค้ำประกันได้ ดังนี้
- สมุดฝากเงินออมสินและ หรือสลากออมสินพิเศษ ให้กู้ได้ไม่เกินร้อยละ 95 ของจำนวนเงินฝากคงเหลือในสมุดฝากเงินออมสิน หรือให้กู้ได้ไม่เกิน ร้อยละ 95 ของมูลค่าสลากออมสินพิเศษ
- อสังหาริมทรัพย์ที่ซึ่งตั้งอยู่ในแหล่งชุมชนที่มีความเจริญ มีไฟฟ้า สาธารณูปโภคอื่น ๆ ตามความจำเป็น และมีทางสาธารณประโยชน์ซึ่งสามารถเข้า-ออกได้สะดวก โดยให้กู้ได้ ดังนี้
● ไม่เกินร้อยละ 80 ของราคาประเมินที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง
● ไม่เกินร้อยละ 70 ของราคาประเมินที่ดินว่างเปล่าหรือห้องชุด
● ไม่เกินร้อยละ 60 ของราคาประเมินที่ดินที่เป็นที่สวน ที่ไร่ ที่นา
บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) โครงการค้ำประกันสินเชื่อเพื่อผู้ประกอบการ Micro Entrepreneurs ค้ำประกันโดยธนาคารเป็นผู้จ่ายค่าธรรมเนียมค้ำประกันในอัตราร้อยละ 2 ต่อปี ของภาระค้ำประกันให้แก่ผู้กู้ ตั้งแต่ปีที่ 2 เป็นต้นไป ตลอดอายุสัญญา
ทั้งนี้ ธนาคารออมสินคิดค่าธรรมเนียมการให้บริการสินเชื่อคิดในอัตราร้อยละ 1 ของวงเงินสินเชื่อที่ขอกู้ธนาคาร
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก
ธนาคารออมสิน, กรมประชาสัมพันธ์, กระทรวงการคลัง