วิธีรักษาโรคเริม ประโยชน์ดีๆอย่าลืมแชร์นะคับ แบ่งความรู้ให้กับผู้อื่นเป็นทานอันประเสริฐ
ถ้าผู้ป่วยมีอาการแสดงชัดเจน แพทย์จะให้การรักษาไปตามอาการ (เช่น ให้ยาแก้ปวดลดไข้ ยาบรรเทาอาการคัน ให้สารน้ำในรายที่มีภาวะขาดน้ำ)
ร่วมไปกับการให้ยาต้านไวรัส ซึ่งจะช่วยลดความรุนแรงของโรค ช่วยให้หายเร็วขึ้น และลดโอกาสการแพร่เชื้อให้ผู้อื่น แต่มักจะไม่ได้มีผลในการป้องกันการกำเริบซ้ำ เพราะยาต้านไวรัสไม่สามารถกำจัดเชื้อไวรัสที่แฝงตัวอยู่ในปมประสาทได้ ส่วนในรายที่มีอาการแสดงไม่ชัดเจน ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชียวชาญเพื่อทำการตรวจวินิจฉัย ซึ่งวิธีการรักษาโรคนี้ที่สำคัญคือการให้ยาต้านไวรัส ซึ่งมีแนวทางดังนี้
โรคเริมส่วนใหญ่มักมีอาการไม่รุนแรง ผู้ที่ไม่ได้รับการรักษามักหายได้เองภายใน 1-2 สัปดาห์ โดยเฉพาะเริมที่กลับมาเป็นซ้ำ ซึ่งจะมีอาการน้อยกว่า (ตุ่มน้ำมีขนาดเล็กและมีจำนวนน้อยกว่า) หายเร็วกว่า และมักไม่มีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย
ในรายที่มีเริมขึ้นที่บริเวณตาควรรีบไปพบจักษุแพทย์ภายใน 24 ชั่วโมง ถ้าพบว่ามีกระจกตาอักเสบจากเชื้อเริม (Herpetic keratitis) แพทย์จะให้ยาต้านไวรัสชนิดหยอดตาหรือป้ายตา เช่น ยาหยอดตาไตรฟลูริดีน (Trifluridine) ชนิด 1% ใช้หยอดตาวันละ 9 ครั้ง (ประมาณ 2 ชั่วโมงครั้ง), ยาขี้ผึ้งป้ายตาไวดาราบีน (Vidarabine) ชนิด 3% ใช้ป้ายวันละ 5 ครั้ง นาน 21 วัน ส่วนในรายที่เป็นรุนแรงอาจต้องให้รับประทานยาอะไซโคลเวียร์ (Acyclovir)ครั้งละ 200-400 มิลลิกรัม วันละ 5 ครั้ง นาน 10 วัน
สำหรับผู้ที่ติดเชื้อเริมครั้งแรกที่บริเวณหนัก แพทย์จะให้รับประทานยาอะไซโคลเวียร์ (Acyclovir) ครั้งละ 400 มิลลิกรัม วันละ 5 ครั้ง นาน 10-14 วัน
สำหรับผู้ที่เป็นตะมอยเริม (Herpetic whitlow) แพทย์จะให้รับประทานยาอะไซโคลเวียร์ (Acyclovir) ครั้งละ 400 มิลลิกรัม วันละ 3 ครั้ง นาน 7 วัน
สำหรับการติดเชื้อเริมครั้งแรกในช่องปากหรืออวัยวะเพศ แพทย์จะให้รับประทานยาอะไซโคลเวียร์ (Acyclovir)ครั้งละ 200 มิลลิกรัม วันละ 5 ครั้ง ทุก ๆ 4 ชั่วโมง (เว้นช่วงนอนหลับตอนดึก) หรือให้รับประทานในขนาด 400 มิลลิกรัม วันละ 3 ครั้ง ทุก ๆ 8 ชั่วโมง นาน 10-14 วัน ส่วนในเด็กที่เป็นเริมในช่องปากแพทย์จะให้รับประทานยาอะไซโคลเวียร์ในนาด 15 มิลลิกรัม/กิโลกรัม วันละ 5 ครั้ง นาน 7 วัน
สำหรับการติดเชื้อซ้ำในบริเวณช่องปาก (ริมฝีปากด้านนอก เหงือก หรือเพดานปาก) หรืออวัยวะเพศ แพทย์จะให้รับประทานยาอะไซโคลเวียร์ (Acyclovir) ครั้งละ 400 มิลลิกรัม วันละ 3 ครั้ง ทุก ๆ 8 ชั่วโมง นาน 5 วัน
สำหรับผู้ที่เป็นเริมที่อวัยวะเพศซ้ำอยู่บ่อย ๆ คือมากกว่าปีละ 6 ครั้ง แพทย์จะให้รับประทานยาอะไซโคลเวียร์ (Acyclovir) ครั้งละ 400 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง ทุกวัน ติดต่อกันอย่างน้อย 1 ปี ซึ่งวิธีนี้จะช่วยลดอัตราการเป็นซ้ำและลดการแพร่เชื้อของผู้ป่วยที่ไม่แสดงอาการได้
ในผู้ป่วยโรคเริมที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ แพทย์จะให้ยาต้านไวรัสชนิดอื่น เช่น แฟมซิโคลเวียร์ (Famciclovir) รับประทานครั้งละ 250 มิลลิกรัม หรือให้วาลาไซโคลเวียร์ (Valaciclovir) รับประทานครั้งละ 500 มิลลิกรัม วันละ 3 ครั้ง นาน 7-10 วัน
ในรายที่สงสัยว่ามีภาวะแทรกซ้อน (เช่น สมองอักเสบ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ตับอักเสบ), มีการติดเชื้อในทารกแรกเกิด หรือเป็นโรคเริมชนิดแพร่กระจาย แพทย์จะรับตัวผู้ป่วยไว้รักษาในโรงพยาบาล และให้ยาอะไซโคลเวียร์ (Acyclovir) ฉีดเข้าหลอดเลือดดำนาน 10-14 วัน
หญิงตั้งครรภ์ที่มีการติดเชื้อเริมครั้งแรกที่ช่องคลอดหรือปากมดลูกในระยะใกล้คลอด แพทย์จะแนะนำให้ผ่าคลอดทางหน้าท้อง เพื่อป้องกันไม่ให้ทารกเกิดการติดเชื้อในขณะคลอดผ่านทางช่องคลอด
สำหรับยาทา ในปัจจุบันยังไม่มียาชนิดใดที่ได้ผลดีกับโรคนี้ ยาทาอาจจะได้ผลดีในแง่ลดอาการปวด ทำให้ผื่นแห้งเร็ว ซึ่งยาที่นิยมใช้ก็คือ ครีมอะไซโคลเวียร์ ที่ใช้ได้ผลเฉพาะกับเริมที่เป็นครั้งแรก และไม่ช่วยลดจำนวนของเชื้อหรือลดระยะเวลาที่เป็นโรค ส่วนยาทาอื่น ๆ นั้นต้องเลือกให้ดีเพราะอาจมีแอลกอฮอล์หรือสารที่ระคายเคืองอย่างอื่นซึ่งทำให้แผลหายช้า ส่วนยาทาที่ผสมสเตียรอยด์ก็ไม่ควรใช้ เพราะแผลจะหายได้ช้า
ครีมพญายอ ซึ่งทำจากสมุนไพรเสลดพังพอนตัวเมีย (พญายอ) ได้ผ่านการศึกษาวิจัยมาแล้วและพบว่า สามารถช่วยรักษาเริมที่อวัยวะเพศที่เป็นครั้งแรกได้ผลดีพอ ๆ กับครีมอะไซโคลเวียร์ (ประสิทธิภาพยังสู้อะไซโคลเวียร์ชนิดรับประทานไม่ได้) แต่ไม่สามารถป้องกันการกำเริบซ้ำได้ ส่วนเริมที่กำเริบซ้ำจะใช้ยาทาเหล่านี้ไม่ได้ผล ต้องใช้ยารับประทานเท่านั้น
ถ้าผู้ป่วยมีอาการแสดงชัดเจน แพทย์จะให้การรักษาไปตามอาการ (เช่น ให้ยาแก้ปวดลดไข้ ยาบรรเทาอาการคัน ให้สารน้ำในรายที่มีภาวะขาดน้ำ)
ร่วมไปกับการให้ยาต้านไวรัส ซึ่งจะช่วยลดความรุนแรงของโรค ช่วยให้หายเร็วขึ้น และลดโอกาสการแพร่เชื้อให้ผู้อื่น แต่มักจะไม่ได้มีผลในการป้องกันการกำเริบซ้ำ เพราะยาต้านไวรัสไม่สามารถกำจัดเชื้อไวรัสที่แฝงตัวอยู่ในปมประสาทได้ ส่วนในรายที่มีอาการแสดงไม่ชัดเจน ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชียวชาญเพื่อทำการตรวจวินิจฉัย ซึ่งวิธีการรักษาโรคนี้ที่สำคัญคือการให้ยาต้านไวรัส ซึ่งมีแนวทางดังนี้
โรคเริมส่วนใหญ่มักมีอาการไม่รุนแรง ผู้ที่ไม่ได้รับการรักษามักหายได้เองภายใน 1-2 สัปดาห์ โดยเฉพาะเริมที่กลับมาเป็นซ้ำ ซึ่งจะมีอาการน้อยกว่า (ตุ่มน้ำมีขนาดเล็กและมีจำนวนน้อยกว่า) หายเร็วกว่า และมักไม่มีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย
ในรายที่มีเริมขึ้นที่บริเวณตาควรรีบไปพบจักษุแพทย์ภายใน 24 ชั่วโมง ถ้าพบว่ามีกระจกตาอักเสบจากเชื้อเริม (Herpetic keratitis) แพทย์จะให้ยาต้านไวรัสชนิดหยอดตาหรือป้ายตา เช่น ยาหยอดตาไตรฟลูริดีน (Trifluridine) ชนิด 1% ใช้หยอดตาวันละ 9 ครั้ง (ประมาณ 2 ชั่วโมงครั้ง), ยาขี้ผึ้งป้ายตาไวดาราบีน (Vidarabine) ชนิด 3% ใช้ป้ายวันละ 5 ครั้ง นาน 21 วัน ส่วนในรายที่เป็นรุนแรงอาจต้องให้รับประทานยาอะไซโคลเวียร์ (Acyclovir)ครั้งละ 200-400 มิลลิกรัม วันละ 5 ครั้ง นาน 10 วัน
สำหรับผู้ที่ติดเชื้อเริมครั้งแรกที่บริเวณหนัก แพทย์จะให้รับประทานยาอะไซโคลเวียร์ (Acyclovir) ครั้งละ 400 มิลลิกรัม วันละ 5 ครั้ง นาน 10-14 วัน
สำหรับผู้ที่เป็นตะมอยเริม (Herpetic whitlow) แพทย์จะให้รับประทานยาอะไซโคลเวียร์ (Acyclovir) ครั้งละ 400 มิลลิกรัม วันละ 3 ครั้ง นาน 7 วัน
สำหรับการติดเชื้อเริมครั้งแรกในช่องปากหรืออวัยวะเพศ แพทย์จะให้รับประทานยาอะไซโคลเวียร์ (Acyclovir)ครั้งละ 200 มิลลิกรัม วันละ 5 ครั้ง ทุก ๆ 4 ชั่วโมง (เว้นช่วงนอนหลับตอนดึก) หรือให้รับประทานในขนาด 400 มิลลิกรัม วันละ 3 ครั้ง ทุก ๆ 8 ชั่วโมง นาน 10-14 วัน ส่วนในเด็กที่เป็นเริมในช่องปากแพทย์จะให้รับประทานยาอะไซโคลเวียร์ในนาด 15 มิลลิกรัม/กิโลกรัม วันละ 5 ครั้ง นาน 7 วัน
สำหรับการติดเชื้อซ้ำในบริเวณช่องปาก (ริมฝีปากด้านนอก เหงือก หรือเพดานปาก) หรืออวัยวะเพศ แพทย์จะให้รับประทานยาอะไซโคลเวียร์ (Acyclovir) ครั้งละ 400 มิลลิกรัม วันละ 3 ครั้ง ทุก ๆ 8 ชั่วโมง นาน 5 วัน
สำหรับผู้ที่เป็นเริมที่อวัยวะเพศซ้ำอยู่บ่อย ๆ คือมากกว่าปีละ 6 ครั้ง แพทย์จะให้รับประทานยาอะไซโคลเวียร์ (Acyclovir) ครั้งละ 400 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง ทุกวัน ติดต่อกันอย่างน้อย 1 ปี ซึ่งวิธีนี้จะช่วยลดอัตราการเป็นซ้ำและลดการแพร่เชื้อของผู้ป่วยที่ไม่แสดงอาการได้
ในผู้ป่วยโรคเริมที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ แพทย์จะให้ยาต้านไวรัสชนิดอื่น เช่น แฟมซิโคลเวียร์ (Famciclovir) รับประทานครั้งละ 250 มิลลิกรัม หรือให้วาลาไซโคลเวียร์ (Valaciclovir) รับประทานครั้งละ 500 มิลลิกรัม วันละ 3 ครั้ง นาน 7-10 วัน
ในรายที่สงสัยว่ามีภาวะแทรกซ้อน (เช่น สมองอักเสบ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ตับอักเสบ), มีการติดเชื้อในทารกแรกเกิด หรือเป็นโรคเริมชนิดแพร่กระจาย แพทย์จะรับตัวผู้ป่วยไว้รักษาในโรงพยาบาล และให้ยาอะไซโคลเวียร์ (Acyclovir) ฉีดเข้าหลอดเลือดดำนาน 10-14 วัน
หญิงตั้งครรภ์ที่มีการติดเชื้อเริมครั้งแรกที่ช่องคลอดหรือปากมดลูกในระยะใกล้คลอด แพทย์จะแนะนำให้ผ่าคลอดทางหน้าท้อง เพื่อป้องกันไม่ให้ทารกเกิดการติดเชื้อในขณะคลอดผ่านทางช่องคลอด
สำหรับยาทา ในปัจจุบันยังไม่มียาชนิดใดที่ได้ผลดีกับโรคนี้ ยาทาอาจจะได้ผลดีในแง่ลดอาการปวด ทำให้ผื่นแห้งเร็ว ซึ่งยาที่นิยมใช้ก็คือ ครีมอะไซโคลเวียร์ ที่ใช้ได้ผลเฉพาะกับเริมที่เป็นครั้งแรก และไม่ช่วยลดจำนวนของเชื้อหรือลดระยะเวลาที่เป็นโรค ส่วนยาทาอื่น ๆ นั้นต้องเลือกให้ดีเพราะอาจมีแอลกอฮอล์หรือสารที่ระคายเคืองอย่างอื่นซึ่งทำให้แผลหายช้า ส่วนยาทาที่ผสมสเตียรอยด์ก็ไม่ควรใช้ เพราะแผลจะหายได้ช้า
ครีมพญายอ ซึ่งทำจากสมุนไพรเสลดพังพอนตัวเมีย (พญายอ) ได้ผ่านการศึกษาวิจัยมาแล้วและพบว่า สามารถช่วยรักษาเริมที่อวัยวะเพศที่เป็นครั้งแรกได้ผลดีพอ ๆ กับครีมอะไซโคลเวียร์ (ประสิทธิภาพยังสู้อะไซโคลเวียร์ชนิดรับประทานไม่ได้) แต่ไม่สามารถป้องกันการกำเริบซ้ำได้ ส่วนเริมที่กำเริบซ้ำจะใช้ยาทาเหล่านี้ไม่ได้ผล ต้องใช้ยารับประทานเท่านั้น