หลายคนไม่เคยรู้มาก่อน ปิดทองที่พระอุทร (ท้อง) ทรัพย์สินเงินทองเข้ามาไม่ขาดสาย!

หลายคนไม่เคยรู้มาก่อน ปิดทองถูกจุด เงินมาไม่ขาดสาย!

เวลาเราเข้าวัดทำบุญสิ่งแรกที่เรามักจะต้องปฎิบัติกันก็คือ “การไหว้พระขอพร” ตามธรรมเนียมของชาวพุทธ เพราะคนเราการเลือกที่จะเข้าวัดมีหลายเหตุผลด้วยกันกันไม่ว่าจะเป็นเรื่องขอโชคลาภทางด้านการเงิน โชคชะตา หรือแม้กระทั่งความรัก บางคนก็เข้าวัดเพราะว่าอยากเสริมบุญให้กับตัวเอง และสิ่งที่อยู่คู่กันคือ “การปิดทองพระ”ซึ่งตอนที่เราซื้อดอกไม้ธูปเทียน เราจะได้แผ่นทองตำเปลวเพื่อนำไปปิดที่องค์พระพุทธรูป แต่รู้หรือไม่ว่าการปิดทองพระตำแหน่งต่างๆ ก็ช่วยเสริมโชค หนุนดวงด้านการเงินและด้านอื่นๆ ให้คุณได้เหมือนกัน และถ้าจะให้ดวงรุ่งพุ่งแรง ก็ควรปิดทองให้ถูกตำแหน่งกันด้วย




ปิดทองที่พระเศียร (ศีรษะ) : จะทำให้มีความจำดี และมีสติปัญญาเป็นเลิศ ถึงเจอปัญหาก็จะแก้ไขและหาทางออกได้ สามารถฝ่าฟันอุปสรรคที่เกิดขึ้นไปได้ด้วยดี กถ้าเป้นนักเรียนนักศึกษา ก็จะเรียนดี มีความจำเป็นเลิศ

ปิดทองที่พระพักตร์ (ใบหน้า) : จะทำให้หน้าที่การงานเจริญก้าวหน้า ชีวิตมีแต่ความรุ่งเรือง

ปิดทองที่พระอุทร (ท้อง) : จะทำให้มีความอุดมสมบูรณ์เกิดขึ้นในชีวิต และมีทรัพย์สินเงินทองเข้ามาไม่ขาดสาย

ปิดทองที่พระนาภี (สะดือ) : จะทำให้ไม่ต้องเผชิญกับความอดอยาก ถึงแม้บางช่วงชีวิตขาด แต่ก็จะมีผู้อุปถัมภ์มาเลี้ยงดูเป็นอย่างดี

ปิดทองที่พระอุระ (หน้าอก) : จะทำให้ดูมีสง่าราศี ใครพบใครเห็นก็รักใครชอบพอ

ปิดทองที่พระหัตถ์ (มือ) : จะทำให้มีอำนาจและบารมีสูงส่ง

ปิดทองที่พระบาท (เท้า) : และรวมไปถึงการปิดทองที่รอยพระพุทธบาท จะทำให้มีแต่ความสมบูรณ์ พร้อมไปด้วยที่พักอาศัย และพาหนะ หรือจะมีโชคในด้านอสังหาริมทรัพย์

ปิดทองที่ฐานรองขององค์พระ (องค์พระมีขนาดใหญ่) : จะทำให้มีความมั่นคง และเจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงาน

ส่วน “การปิดทองหลังพระ” เป็นภาษิตที่มีความเชื่อว่า ถ้าจะให้พระองค์นึงมีความสวยงามและสมบูรณ์ ก็ให้ปิดทองทั้งหมดรวมไปถึงปิดที่ด้านหลังด้วย และควรอธิฐานเวลาปิดทององค์พระดังนี้

“ด้วยอานิสงส์แห่งการปิดทองนี้ ขอให้ข้าพเจ้าได้เติมเต็มสิ่งดีๆ ที่ยังไม่เต็มให้บริบูรณ์”

แต่ถ้าพบว่าพระพุทธรูปมีการปิดทองเต็มองค์จนแน่นแล้ว ก็ปิดทองทับทองของคนอื่นลงไป แล้วตั้งจิตอธิษฐานว่า

“การใดใดที่เป็นสิ่งดีงาม ที่สมบูรณ์แล้ว ขอให้ข้าพเจ้าได้ทำให้สมบูรณ์ยิ่งๆ ขึ้นไปอีกด้วยเถิด” พูดง่ายๆ ได้ว่า ถ้ายังขาดก็ทำให้เต็ม แต่ถ้าเต็มก็รักษาไว้ หรือทำให้สมบูรณ์มากขึ้นไปอีก