ลองทำกันดูนะ! ท่าบริหารแก้อาการปวดหลัง ง่าย ๆ ใคร ๆ ก็ทำได้

เชื่อว่าอาการปวดหลัง ปวดเอว ปวดสะโพก หรือบริเวณหลังส่วนล่างเป็นกันเกือบทุกคน โดยเฉพาะพนักงานออฟฟิศที่ต้องนั่งทำงานอยู่ในท่าเดิมๆ เป็นประจำทุกวัน แต่ก็มักเห็นหลายคนใช้วิธีคลายอาการปวดเมื่อยแบบผิดๆ อยู่เสมอ เช่น การทุบแรงๆ ในบริเวณที่ปวดบ้างละ บิดตัวไปมาบ้างละ นอกจากจะไม่ทำให้อาการปวดน้อยลงแล้ว ยิ่งเพิ่มความบอบช้ำของกล้ามเนื้อขึ้นไปอีกโดยไม่รู้ตัว

เราสามารถลดอาการปวดเมื่อยต่างๆ เหล่านี้ได้เพียงแค่บริหารกล้ามเนื้อหลังส่วนล่าง และสะโพกด้วย 3 ท่านี้ แต่ต้องทำเป็นประจำทุกวันจะยิ่งส่งผลดีในระยะยาว แต่หากใครรู้สึกว่าอาการปวดเมื่อยเรื้อรังไม่หาย ก็ควรรีบไปตรวจเช็คอาการกับนักกายภาพบำบัดเพื่อหาสาเหตุที่แท้จริง และทำการรักษาอย่างตรงจุดและถูกวิธี จะเป็นทางออกที่ดีที่สุด




การป้องกันภาวะปวดหลัง

1.    หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดอาการปวดหลัง ได้แก่ บุหรี่ สุรา ความเครียด ความอ้วน การทำงานหนักเกินกำลังนานๆ ควรฝึกการใช้ท่วงท่าอิริยาบถให้เหมาะสมตามหลักชีวกลศาสตร์ บริหารยืดหยุ่นร่างกาย และออกกำลังกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ

2.    ท่วงท่าอิริยาบถ – ควรฝึกท่าทางให้เหมาะสมต่อลักษณะการใช้งาน ระลึกเตือนตนอยู่เสมอจนทำได้เป็นนิสัยจะช่วยลดปัญหาปวดเมื่อย ทำงานได้นานอย่างผ่อนคลายและช่วยเสริมบุคลิกที่สง่างามไปในตัว

การยืน: ยืนตัวตรง อกผายไหล่ผึ่ง เก็บคาง คอตรง แขม่วท้องเล็กน้อย

การนั่ง: ไม่ นั่งกับพื้นหรือใช้เก้าอี้เตี้ย การนั่งพับเพียบ ทำให้หลังคด ปวดหลัง หลังเสื่อมเร็ว

การนอน: ใช้เตียงที่หยุ่นพอดี ไม่แข็งหรือนุ่มเกินไป ใช้หมอนรองคอและศีรษะให้สบาย ไม่หนุนเฉพาะส่วนคอ จัดลำตัวให้ตรง อาจก่ายหมอนข้างในท่าตะแคง ไม่ควรนอนคว่ำ (ทำให้หลังแอ่น)

การทำงาน: ไม่ก้มตัวหยิบของจากพื้น ให้ย่อเข่าลงเพื่อยกในท่าหลังตรง ไม่ควรก้มหลังขณะทำกิจวัตรต่างๆ จัดระดับตู้ โต๊ะและของใช้ในบ้านให้พอดีกับความสูง ไม่ก้ม เอื้อม เขย่งสูง หากต้องยืนนาน ควรมีที่รองเท้าเตี้ยๆ รองเท้าหนึ่งข้าง และสลับขาเป็นระยะ จะช่วยพักหลังส่วนเอวได้ดี การนั่งเก้าอี้ ควรนั่งตัวตรง หลังพิงพนัก เท้าวางราบพื้น เข่างอมุมฉาก ไม่ยื่นหน้าหรือก้มคอมากเกินไป

3.    การออกกำลังกายแบบแอโรบิก – คือการบริหารกลุ่มกล้ามเนื้อใหญ่ของแขนขาเป็นจังหวะต่อเนื่องด้วยความหนักที่พอเหมาะ ติดต่อกัน 20 – 60 นาที 3 – 5 ครั้งต่อสัปดาห์

วิธีที่ดีที่สุดคือ การ เดินเร็ว ให้รู้สึก เหนื่อยปานกลาง โดย สังเกตว่าเหนื่อยแต่ยังสามารถพูดคุยได้ หรืออาจจับชีพจรดูว่าเพิ่มขึ้นจากชีพจรขณะพักประมาณ 20 – 30 ครั้ง/ นาที หลักสำคัญคือต้องอุ่นเครื่องโดยบริหารยืดหยุ่นอบอุ่นร่างกายก่อน และเมื่อออกกำลังแล้วต้องเบาเครื่อง โดยค่อยๆ ลดความหนัก (ความเร็ว) ลง ไม่หยุดทันที ซึ่งการ อุ่นเครื่อง – เบาเครื่อง นี้ จะช่วยป้องกันการบาดเจ็บของข้อ กล้ามเนื้อและหัวใจได้

นอกจากเดินแล้ว การปั่นจักรยาน รำมวยจีน ว่ายน้ำหรือเดินในน้ำ ก็จัดเป็นการออกกำลังกายแบบแอโรบิกที่ดี ไม่มีแรงกระแทกต่อกระดูกและข้อ เหมาะกับผู้ที่เป็นโรคข้อเสื่อมและผู้สูงอายุ สำหรับคนหนุ่มสาวหรือผู้ที่ไม่มีปัญหาปวดหลัง สามารถวิ่งจ้อกกิ้งได้

การแพทย์จะใช้วิธีออกกำลังกายแบบแอโรบิกเพื่อรักษาภาวะปวดเรื้อรัง นอกเหนือจากใช้ร่วมในการรักษาและป้องกันโรคเรื้อรังอื่นๆ ได้แก่ โรคหัวใจ เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง