พยายามกินให้ได้บ่อยๆ ผักอีเลิศ ยับยั้งเซลล์มะเร็ง บำรุงสายตา พร้อมเผยสูตรชาผักอีเลิศ แก้เบาหวาน

พยายามกินให้ได้บ่อยๆ ผักอีเลิศ ยับยั้งเซลล์มะเร็ง บำรุงสายตา พร้อมเผยสูตรชาผักอีเลิศ แก้เบาหวาน

ชะพลู มีเบต้าแคโรทีนสูง มีวิตามินเอ ธาตุแคลเซียมปริมาณสูงมาก ธาตุเหล็ก ฟอสฟอรัส คลอโรฟิลล์ กากใยอาหารสูง มีประโยชน์ต่อร่างกายแทบทั้งสิ้นบำรุงธาตุ ขับลม แก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ และช่วยในการขับเสมหะ

ใบชะพลู ไม่ควรกินมากหรือกินติดต่อกันเป็นเวลานาน เพราะแคลเซียมสูงมาก จะเปลี่ยนเป็นแคลเซียมออกซาเลต (Oxalate) เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคนิ่วในไตได้ ถ้ากินใบชะพลูมากๆ ต้องดื่มน้ำตามมาก ๆ เพื่อให้สารออกซาเลตเจือจางและถูกขับออกทางปัสสาวะ หรือจะเลือกกินกับนอาหารที่มีโปรตีนสูง จะป้องกันโรคนิ่วได้ อาหารอะไรก็ตาม ควรกินในปริมาณที่เหมาะสม คำว่า “เดินทางสายกลาง” ใช้ได้เสมอ

สรรพคุณ :

ผล - เป็นส่วนผสมของยารักษาโรคหืด แก้บิด

ราก ต้น ดอก ใบ - ขับเสมหะ

ราก - แก้ธาตุพิการ บำรุงธาตุ แก้ท้องขึ้นอืดเฟ้อขับลม แก้บิด

ทั้งต้น - แก้เสมหะ ท้องอืด ท้องเฟ้อ

- รักษาโรคเบาหวาน

วิธีและปริมาณที่ใช้

รักษาโรคเบาหวาน

ใช้ชะพลูสดทั้ง 5 (หมายถึงทั้งต้นรวมราก) จำนวน 7 ต้น ล้างน้ำให้สะอาด ใส่น้ำพอท่วม ต้มให้เดือดสักพัก นำมาดื่ม เหมือนดื่มน้ำชา

ข้อควรระวัง - จะต้องตรวจน้ำตาลในปัสสาวะก่อนดื่มและหลังดื่มทุกครั้ง เพราะว่าน้ำยานี้ทำให้น้ำตาลลดลงเร็วมาก ต้องเปลี่ยนต้นชะพลูใหม่ทุกวันที่ต้ม ต้มดื่มต่อไปทุกๆ วัน จนกว่าจะหาย

แก้ท้องอืดเฟ้อ ขับลม

ใช้ราก 1 กำมือ ต้มกับน้ำ 2 ถ้วยแก้ว เคี่ยวให้เหลือ 1 1/2 ถ้วยแก้ว รับประประทานครั้งละ 1/2 ถ้วยแก้ว

แก้บิด

ใช้รากครึ่งกำมือ ผล 2-3 หยิบมือ ต้มกับน้ำ 2 ถ้วยแก้ว เคี่ยวให้เหลือ 1 ถ้วยแก้ว กินครั้งละ 1/4 ถ้วยแก้ว

เมนูใบชะพลู

เมี่ยงใบชะพลู เมี่ยงปลาใบชะพลู ห่อหมกใบชะพลู แกงเขียวหวานปูใบชะพลู แกงคั่วหอยขมใบชะพลู กินเป็นผักสดกับน้ำพริก อาหารรสจัดทั่วไป ฯลฯ

ข้อมูลทั่วไปของชะพลู

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Piper sarmentosum Roxb.

ชื่อสามัญ : Wildbetal Leafbush

วงศ์ : PIPERACEAE

ชื่ออื่น : นมวา (ภาคใต้) ผักปูนา ผักพลูนก พลูลิง (ภาคเหนือ) เย่เท้ย (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

เป็นไม้ล้มลุก ลำต้นทอดคลานไปตามพื้นดิน สูง 30-80 เซนติเมตร ลำต้นสีเขียว มีไหลงอกเป็นต้นใหม่ มีรากงอกออกตามข้อ ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ แผ่นใบบาง ผิวใบเรียบสีเขียวเข้มเป็นมัน ใบรูปหัวใจ กว้าง 5-10 ซม. ยาว 7-15 ซม. ปลายใบแหลม โคนใบเว้า ดอก ออกเป็นช่อที่ซอกใบรูป

ทรงกระบอก ดอกเล็กสีขาวอัดแน่นอยู่บนแกนช่อดอก ดอกแยกเพศ ผล เป็นผลสด กลม อัดแน่นอยู่บนแกน

ส่วนที่ใช้ : ผล ใบ ทั้งต้น ราก

ความแตกต่างระหว่าง “ใบชะพลู” กับ “ใบพลู”

ชะพลู กับ พลู (ที่คนโบราณกินกับหมาก) ลักษณะใบคล้ายๆ กัน แต่พลูเลื้อยขึ้นที่สูง ชะพลูเลื้อยไปกับดิน ใบพลูมีรสจัดกว่า กลิ่นแรงกว่า ใบใหญ่กว่าชะพลู

อ้างอิง... www.facebook.com/pages/ชีวอโรคยา/135957369811772