การปลูกผักสวนครัวน่าจะเป็นคำตอบที่ง่าย ประหยัด สำหรับสภาพเศรษฐกิจแบบนี้
การปลูกผักสวนครัวไม่ได้จำกัดว่าจะต้องลงพื้นดินเท่านั้น คนที่อยู่คอนโด
อพาร์ตเมนต์ หรือบ้านพื้นที่น้อย
ก็เล่นสนุกกับการปลูกผักได้ในแปลงกระบะพลาสติก
แต่บางครั้งสิ่งที่คิดก็ไม่ได้ออกมาตามความตั้งใจสักเท่าไรเลยสำหรับมือใหม่หัดปลูก
ดังนั้นจึงนำสิ่งที่ควรรู้ก่อนการเริ่มต้นมาฝากกัน
เลือกชนิดผักที่จะปลูก ไม่ควรเลือกปลูกผักที่ดูแลต่างกันมากนัก ควรเลือกผักที่ดูแลง่าย 2-3 ชนิดผักที่ปลูกง่ายและได้ใช้ประโยชน์จริง อย่าปลูกในจำนวนมากเกินไป ควรแบ่งพื้นที่สำหรับปลูกผักแต่ละชนิดให้เหมาะสม ที่สำคัญต้องรู้ระยะเวลาปลูก ผักที่คุ้นหน้าคุ้นตาอย่าง กวางตุ้ง คะน้า โหระพา กะเพรา พริกขี้หนู ผักบุ้ง ฯลฯ สามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี
แต่อย่าเพิ่งดีใจไปว่าผักสวนครัวทุกชนิดจะปลูกเมื่อไหร่ก็ได้ เพราะพืชผักบางชนิดต้องรู้ฤดูกาลและสภาพอากาศที่ชอบ เช่น ฤดูร้อนแบบนี้ถ้ามีพื้นที่มากพอขอให้ปลูก บวบ มะระ ผักกาดหอม ผักกาดขาว ผักชี ถั่วฝักยาว ฟักทอง ถั่วพู จะเป็นผักที่ทนความแห้งแล้งได้ ส่วนผักประจำฤดูฝน (กลาง พ.ค-กลาง ต.ค.) ก็ปลูกในช่วงต้นหนาว (กลาง ต.ค.-กลาง ก.พ.) ได้เช่น กะหล่ำปลี บร็อกโคลี่ หอมหัวใหญ่ มะเขือเทศ เป็นต้น
ไม่ว่าจะเลือกปลูกอะไรก็อย่าลืมนึกถึงปริมาณและทิศทางของแดดเมืองไทยด้วย ผักใบควรปลูกในพื้นที่รับแดดอย่างน้อยครึ่งวัน หากได้รับแดดน้อยกว่านี้ ควรเลือกปลูกพืชผักพื้นบ้านที่ต้องการแสงรำไร เช่น ใบเตย สะระแหน่ ชะพลู ขิง ข่า ใบบัวบก วอเตอร์เครส ผักชีฝรั่ง หากต้องการปลูกผักกินผล เช่น มะเขือเปราะ มะเขือยาว มะเขือเทศ แตงกวา พริก ควรปลูกในที่มีแดดเต็มวัน
เมื่อรู้อย่างนี้แล้วก็ต้องเตรียมเมล็ดพันธุ์ไว้ให้ดี เพื่อให้มีผลผลิตไว้กินประหยัดเงินในกระเป๋าและที่สำคัญร่างกายก็ยังได้รับสารอาหารจากผักที่เราปลูกเองแบบเต็มที่อีกด้วย
เลือกชนิดผักที่จะปลูก ไม่ควรเลือกปลูกผักที่ดูแลต่างกันมากนัก ควรเลือกผักที่ดูแลง่าย 2-3 ชนิดผักที่ปลูกง่ายและได้ใช้ประโยชน์จริง อย่าปลูกในจำนวนมากเกินไป ควรแบ่งพื้นที่สำหรับปลูกผักแต่ละชนิดให้เหมาะสม ที่สำคัญต้องรู้ระยะเวลาปลูก ผักที่คุ้นหน้าคุ้นตาอย่าง กวางตุ้ง คะน้า โหระพา กะเพรา พริกขี้หนู ผักบุ้ง ฯลฯ สามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี
แต่อย่าเพิ่งดีใจไปว่าผักสวนครัวทุกชนิดจะปลูกเมื่อไหร่ก็ได้ เพราะพืชผักบางชนิดต้องรู้ฤดูกาลและสภาพอากาศที่ชอบ เช่น ฤดูร้อนแบบนี้ถ้ามีพื้นที่มากพอขอให้ปลูก บวบ มะระ ผักกาดหอม ผักกาดขาว ผักชี ถั่วฝักยาว ฟักทอง ถั่วพู จะเป็นผักที่ทนความแห้งแล้งได้ ส่วนผักประจำฤดูฝน (กลาง พ.ค-กลาง ต.ค.) ก็ปลูกในช่วงต้นหนาว (กลาง ต.ค.-กลาง ก.พ.) ได้เช่น กะหล่ำปลี บร็อกโคลี่ หอมหัวใหญ่ มะเขือเทศ เป็นต้น
ไม่ว่าจะเลือกปลูกอะไรก็อย่าลืมนึกถึงปริมาณและทิศทางของแดดเมืองไทยด้วย ผักใบควรปลูกในพื้นที่รับแดดอย่างน้อยครึ่งวัน หากได้รับแดดน้อยกว่านี้ ควรเลือกปลูกพืชผักพื้นบ้านที่ต้องการแสงรำไร เช่น ใบเตย สะระแหน่ ชะพลู ขิง ข่า ใบบัวบก วอเตอร์เครส ผักชีฝรั่ง หากต้องการปลูกผักกินผล เช่น มะเขือเปราะ มะเขือยาว มะเขือเทศ แตงกวา พริก ควรปลูกในที่มีแดดเต็มวัน
เมื่อรู้อย่างนี้แล้วก็ต้องเตรียมเมล็ดพันธุ์ไว้ให้ดี เพื่อให้มีผลผลิตไว้กินประหยัดเงินในกระเป๋าและที่สำคัญร่างกายก็ยังได้รับสารอาหารจากผักที่เราปลูกเองแบบเต็มที่อีกด้วย