ใครกำลังประสบปัญหาที่ว่านี้ ลองมาเรียนรู้ และทดลองวิธีที่จะแนะนำกันนี้ดูคะ วิธีนี้เรียกว่า Wicking Garden Bed
สำหรับการออกแบบแปลงนั้น สามารถทำได้หลากหลายรูปแบบด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นกล่องพลาสติกธรรมดา , ใช้ไม้ต่อเป็นแปลง หรือใช้อิฐบล็อค เป็นต้น ขึ้นอยู่กับว่าคุณมีอะไรหรือหาอะไรได้บ้างในละแวกบ้านของตัวเอง
สิ่งสำคัญอื่นๆที่ต้องเตรียม ได้แก่
1. ผ้าพลาสติกสำหรับปูพื้นแปลง
2. ผ้าพลาสติกกันน้ำหรือผ้าจีโอเท็กซ์ไทล์สำหรับปูด้านบนก่อนใส่ดิน
3. กรวด หรือทราย
4. ท่อ PVC
5. อุปกรณ์สำหรับเจาะรู
ขั้นตอนการทำมีดังนี้
1. เตรียมแปลงขนาดตามความต้องการและความเหมาะสมของพื้นที่ แต่ควรมีความสูงอย่างน้อย 40 เซนติเมตร
2. ปูผ้าพลาสติกด้านล่างและด้านข้างแปลงให้รอบอาจใช้ฟิวเจอร์บอร์ดรองด้านล่าง และบุด้านข้างก่อน เพื่อความแข็งแรง
3. ใส่กรวด หรือทราย ให้ทั่วแปลง หนาประมาณ 1 ใน 3 ของดิน
4. ใส่ท่อ PVC โดยมี 2 ลักษณะคือ
– ท่อ PVC วางแนวนอนตามความกว้างของแปลง โดยที่ตัวท่อให้เจาะรูเล็กๆ ตลอดแนวหากแปลงมีขนาดใหญ่ อาจะใช้ท่อที่สามารถขดได้ แล้วซื้อข้อต่อมาต่อเข้ากับท่อ PVC ที่เสียบแนวตั้ง
– ท่อ PVC สำหรับเสียบตั้งตรงบริเวณมุมแปลง แนะนำให้เลือกท่อขนาดใหญ่กว่าท่อแนวนอนเล็กน้อย เพื่อเติมน้ำได้สะดวก
5. ปูผ้าพลาสติกกันน้ำหรือผ้าจีโอเท็กซ์ไทล์คลุมด้านบนกรวดหรือทราย
6. เจาะรูบริเวณด้านข้างแปลง ตรงตำแหน่งที่เป็นรอต่อระหว่างกรวดหรือทรายกับดิน เพื่อระบายน้ำส่วนเกินออก ใส่ท่อสำหรับระบายน้ำเข้าไปในรู
7. ใส่ดินที่ปรุงแล้ว แนะนำว่าควรมีความหนาหรือความลึกของดินอย่างน้อยประมาณ 30 เซนติเมตร
8.รดน้ำลงในท่อ PVC จนน้ำเต็ม อาจหาก้อนหิน หรือฝามาปิดบนท่อ เพื่อป้องกันไม่ให้แมลง หรือยุงลงไปไข่
9. ลงมือปลูกผักบนแปลงได้
เทคนิคการปลูกผักแบบนี้ เขาบอกว่าสามารถประหยัดน้ำ และประหยัดเวลารดน้ำได้ คือหากใครไม่อยู่บ้านเป็นเวลาสัก 1 อาทิตย์ ผักที่ปลูกก็ยังเจริญเติบโตอยู่ได้ โดยมีน้ำด้านล่างค่อยๆหล่อเลี้ยงพืช เป็นเหมือนการให้น้ำพืชจากด้านล่าง แทนการรดน้ำบริเวณผิวดินเรียกว่าเหมาะไม่น้อย สำหรับคนที่ไม่ค่อยมีเวลารดน้ำ
ใครสนใจลองนำไปทดลองทำดูนะครับ ว่ากันตามจริงแล้ว หากลองหาใน internet ก็จะพบหลากหลายรูปแบบวิธีในการทำแปลงรดน้ำอัตโนมัติแบบนี้ อย่างไรก็ตามหลักการสำคัญก็คือควรมีพื้นที่สำหรับเก็บน้ำด้านล่างแปลง มีที่ระบายน้ำส่วนเกินออกตรงรอยต่อระหว่างดินกับกรวดหรือทรายที่อุ้มน้ำ มีท่อสำหรับเติมน้ำ และมีดินที่มีความลึกอย่างน้อย 30 เซนติเมตร ที่สำคัญควรปรุงดินให้ดี และควรคลุมดินเพื่อช่วยรักษาความชื้นด้วย ในระยะแรกระบบการดูดซึมน้ำอาจยังทำงานไม่เต็มที่ ก็อาจรดน้ำผักโดยตรงช่วยเพิ่มด้วยบ้างเล็กน้อย
ขอบคุณข้อมูลดีดีจาก เกษตร อินเตอร์เชียงใหม่
สำหรับการออกแบบแปลงนั้น สามารถทำได้หลากหลายรูปแบบด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นกล่องพลาสติกธรรมดา , ใช้ไม้ต่อเป็นแปลง หรือใช้อิฐบล็อค เป็นต้น ขึ้นอยู่กับว่าคุณมีอะไรหรือหาอะไรได้บ้างในละแวกบ้านของตัวเอง
สิ่งสำคัญอื่นๆที่ต้องเตรียม ได้แก่
1. ผ้าพลาสติกสำหรับปูพื้นแปลง
2. ผ้าพลาสติกกันน้ำหรือผ้าจีโอเท็กซ์ไทล์สำหรับปูด้านบนก่อนใส่ดิน
3. กรวด หรือทราย
4. ท่อ PVC
5. อุปกรณ์สำหรับเจาะรู
ขั้นตอนการทำมีดังนี้
1. เตรียมแปลงขนาดตามความต้องการและความเหมาะสมของพื้นที่ แต่ควรมีความสูงอย่างน้อย 40 เซนติเมตร
2. ปูผ้าพลาสติกด้านล่างและด้านข้างแปลงให้รอบอาจใช้ฟิวเจอร์บอร์ดรองด้านล่าง และบุด้านข้างก่อน เพื่อความแข็งแรง
3. ใส่กรวด หรือทราย ให้ทั่วแปลง หนาประมาณ 1 ใน 3 ของดิน
4. ใส่ท่อ PVC โดยมี 2 ลักษณะคือ
– ท่อ PVC วางแนวนอนตามความกว้างของแปลง โดยที่ตัวท่อให้เจาะรูเล็กๆ ตลอดแนวหากแปลงมีขนาดใหญ่ อาจะใช้ท่อที่สามารถขดได้ แล้วซื้อข้อต่อมาต่อเข้ากับท่อ PVC ที่เสียบแนวตั้ง
– ท่อ PVC สำหรับเสียบตั้งตรงบริเวณมุมแปลง แนะนำให้เลือกท่อขนาดใหญ่กว่าท่อแนวนอนเล็กน้อย เพื่อเติมน้ำได้สะดวก
5. ปูผ้าพลาสติกกันน้ำหรือผ้าจีโอเท็กซ์ไทล์คลุมด้านบนกรวดหรือทราย
6. เจาะรูบริเวณด้านข้างแปลง ตรงตำแหน่งที่เป็นรอต่อระหว่างกรวดหรือทรายกับดิน เพื่อระบายน้ำส่วนเกินออก ใส่ท่อสำหรับระบายน้ำเข้าไปในรู
7. ใส่ดินที่ปรุงแล้ว แนะนำว่าควรมีความหนาหรือความลึกของดินอย่างน้อยประมาณ 30 เซนติเมตร
8.รดน้ำลงในท่อ PVC จนน้ำเต็ม อาจหาก้อนหิน หรือฝามาปิดบนท่อ เพื่อป้องกันไม่ให้แมลง หรือยุงลงไปไข่
9. ลงมือปลูกผักบนแปลงได้
เทคนิคการปลูกผักแบบนี้ เขาบอกว่าสามารถประหยัดน้ำ และประหยัดเวลารดน้ำได้ คือหากใครไม่อยู่บ้านเป็นเวลาสัก 1 อาทิตย์ ผักที่ปลูกก็ยังเจริญเติบโตอยู่ได้ โดยมีน้ำด้านล่างค่อยๆหล่อเลี้ยงพืช เป็นเหมือนการให้น้ำพืชจากด้านล่าง แทนการรดน้ำบริเวณผิวดินเรียกว่าเหมาะไม่น้อย สำหรับคนที่ไม่ค่อยมีเวลารดน้ำ
ใครสนใจลองนำไปทดลองทำดูนะครับ ว่ากันตามจริงแล้ว หากลองหาใน internet ก็จะพบหลากหลายรูปแบบวิธีในการทำแปลงรดน้ำอัตโนมัติแบบนี้ อย่างไรก็ตามหลักการสำคัญก็คือควรมีพื้นที่สำหรับเก็บน้ำด้านล่างแปลง มีที่ระบายน้ำส่วนเกินออกตรงรอยต่อระหว่างดินกับกรวดหรือทรายที่อุ้มน้ำ มีท่อสำหรับเติมน้ำ และมีดินที่มีความลึกอย่างน้อย 30 เซนติเมตร ที่สำคัญควรปรุงดินให้ดี และควรคลุมดินเพื่อช่วยรักษาความชื้นด้วย ในระยะแรกระบบการดูดซึมน้ำอาจยังทำงานไม่เต็มที่ ก็อาจรดน้ำผักโดยตรงช่วยเพิ่มด้วยบ้างเล็กน้อย
ขอบคุณข้อมูลดีดีจาก เกษตร อินเตอร์เชียงใหม่