แชร์เก็บไว้ก่อน วิธีตอนกิ่งแบบอากาศ..พร้อมสูตรเร่งรากด้วยเครื่องปรุงในครัวเราเอง
การตอนกิ่งแบบอากาศ (air layering) เป็นวิธีการที่คิดค้นขึ้นในสาธารณรัฐประชาชนจีน ควรเลือกใช้กิ่งที่มีอายุพอเหมาะในระยะ ที่ต้นแม่อยู่ในช่วงที่มีการเจริญเติบโต กิ่งที่มีอายุมากการเกิดรากจะไม่ดี ระยะเวลาที่เหมาะสม ในการตอนกิ่งสังเกตได้จากสามารถลอกเปลือกออกจากกิ่งได้ง่าย
2.คัดเตอร์
3.เทปใส
4.ขุยมะพร้าว+ปุ๋ยอินทรีย์+น้ำ
5.กระดาษฟอยหรือกระดาษหนังสือพิมพ์
6.เชือกและกิ่งไม้
7.ฮอร์โมนเร่งราก หากไม่มีให้ใช้ กะปิ 100 กรัม ผสมน้ำมะพร้าวแก่ 1 ลูก ทั้งในกะปิ และน้ำมะพร้าวแก่ ต่างก็มี "ไซโตคินิน" ช่วงเร่ง การงอกรากของกิ่งตอน
วิธีผสม
ควั่นเปลือกกิ่ง ความยาวของรอยแผล ประมาณเส้นรอบวงของกิ่ง ทั้งด้านบนและล่างของกิ่ง
ความสมบูรณ์ : กิ่งที่มีความสมบูรณ์ พร้อมต่อการขยายพันธุ์ ลอกเปลือกออกง่ายมาก เปลือกไม่ติดเนื้อกิ่ง เปลือกกิ่งในจะมีน้ำหล่อเลี้ยงชุ่มชื้นดี
เมื่อกิ่งตอนงอกรากซึ่งจะเกิดตรงบริเวณรอยควั่นด้านบน
และรากเริ่มแก่เป็นสีเหลือง หรือมีสีน้ำตาล
ปลายรากมีสีขาวและมีจำนวนรากมากพอ จึงตัดกิ่งตอนไปชำหรือปลูกได้
ตัดกิ่งตอนไปชำในภาชนะ ในกระถางหรือถุงพลาสติก เพื่อรอการปลูกต่อไป
การตอนกิ่งแบบอากาศ (air layering) เป็นวิธีการที่คิดค้นขึ้นในสาธารณรัฐประชาชนจีน ควรเลือกใช้กิ่งที่มีอายุพอเหมาะในระยะ ที่ต้นแม่อยู่ในช่วงที่มีการเจริญเติบโต กิ่งที่มีอายุมากการเกิดรากจะไม่ดี ระยะเวลาที่เหมาะสม ในการตอนกิ่งสังเกตได้จากสามารถลอกเปลือกออกจากกิ่งได้ง่าย
วิธีตอนกิ่งแบบอากาศ (Air Layering)
อุปกรณ์ที่ต้องเตรียม
1.แก้วพร้อมฝาปิด2.คัดเตอร์
3.เทปใส
4.ขุยมะพร้าว+ปุ๋ยอินทรีย์+น้ำ
5.กระดาษฟอยหรือกระดาษหนังสือพิมพ์
6.เชือกและกิ่งไม้
7.ฮอร์โมนเร่งราก หากไม่มีให้ใช้ กะปิ 100 กรัม ผสมน้ำมะพร้าวแก่ 1 ลูก ทั้งในกะปิ และน้ำมะพร้าวแก่ ต่างก็มี "ไซโตคินิน" ช่วงเร่ง การงอกรากของกิ่งตอน
วิธีผสม
นำขุยมะพร้าวใส่ในกาละมัง แล้วใส่น้ำผสมลงไป
ใช้มือเคล้าขุยมะพร้าวกับน้ำให้เข้ากัน
เมื่อใช้มือเดียวกำขุยมะพร้าวแล้วบีบ มีน้ำหยดลงมาก็ใช้ได้
ไม่ต้องให้เปียกโชก
ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ลงไปในขุยมะพร้าวที่อยู่ในกาละมังพอประมาณ
แล้วใช้มือเคล้าผสมให้เข้ากัน (อย่าใส่มาก เดี๋ยวพอไปตอนกิ่งแล้ว
กิ่งพันธุ์จะเหี่ยวเฉาและกิ่งตาย)
น้ำมะพร้าวและกะปิสามารถกระตุ้นการเร่งราก
ไซโตไคนิน เป็นฮอร์โมนของพืชที่พบครั้งแรกในน้ำมะพร้าวและกะปิ
โดยสารนี้มีความสามารถกระตุ้น การแบ่งเซลล์ ซึ่งต่อมาพบว่าสารนี้คือ
6-furfuryladenine เป็นสารที่มีสูตรโครงสร้างแบบ พูรีน (Purine) จากคุณสมบัติที่สามารถกระตุ้นการแบ่งเซลล์ได้จึงเรียกสารนี้ว่า ไคเนติน (Kinetin) หลังจากนั้นก็มีผู้พบสารที่มีสูตรโครงสร้างและคุณสมบัติคล้ายกับไคเนตินอีก หลายชนิด
จึงรวม เรียกสารเหล่านี้ว่าไซโตไคนิน ไซโตไคนินที่พบในพืชคือ ซีอะติน (Zeatin) แหล่งสร้างไซโตไค
นินในพืชที่อยู่ปลายราก ปมราก และพบทั่วไปในต้นพืช เป็นส่วนประกอบของกรดนิวคลีอิก นอก
จากนี้พบในรูปสารอิสระในเอมบริโอและผลที่กำลังเจริญเติบโต ผลของไซโตไคนินกับพืชจะเกิด
ร่วมกับสารกระตุ้นการทำงาน (co-factor) อื่นๆ ถ้าไม่มีสารเหล่านี้ไซโตไคนินจะไม่แสดงผลกับพืช
หลักพิจารณาในการตอนกิ่งไม้ผล
1. ฤดูกาล ควรทำในฤดูฝนระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือนสิงหาคมในระยะที่พืช
อยู่ในระยะเจริญเติบโต
ถ้าตอนกิ่งในฤดูร้อนต้องรดน้ำให้ความชื้นอย่างสม่ำเสมอ
สังเกตจากวัสดุที่หุ้มกิ่งควรมีฝ้าไอน้ำและวัสดุมีความชื้นอย่างเพียงพอ
ถ้าความชื้น ไม่พอจะต้องให้น้ำเพิ่มเติม
2. การเลือกกิ่ง ควรเลือกกิ่งเพสลาด เป็นกิ่งที่เจริญเติบโตเต็มที่แล้ว
และมีอายุไม่มาก เป็นกิ่งที่สามารถออกรากได้ง่าย และให้ปริมาณรากมาก
3. ขนาดกิ่ง พอเหมาะไม่เล็กหรือใหญ่เกินไป
ขนาดประมาณตั้งแต่นิ้วก้อยถึงนิ้วหัวแม่มือ และต้องเป็นกิ่งที่สมบูรณ์
ไม่อยู่ในระยะออกดอกติดผล
4. ชนิดกิ่ง ควรเป็นกิ่งที่ตั้งตรงและได้รับแสงแดดอย่างเต็มที่
จะทำให้การเกิดรากได้รอบ รอยควั่นของกิ่ง
ถ้าเป็นกิ่งเอนอาจเกิดรากอยู่ทางด้านเดียวของกิ่งและมีปริมาณน้อย
การตอนกิ่งในอากาศ (Air Layering)
การตอนกิ่งในอากาศ โดยเฉพาะแบบควั่นกิ่ง เหมาะสำหรับไม้ดอกไม้ประดับ เช่น
กุหลาบ โมก โกสน แสงจันทร์ เล็บครุฑ ฯลฯ และไม้ผลบางชนิด เช่น มะม่วง ลำไย
มังคุด มะเฟือง ฯลฯ เป็นต้น มีขั้นตอน ดังนี้
เลือกกิ่งที่มีอายุไม่เกิน 1 ปี หรืออยู่ในวัยหนุ่มสาว
ซึ่งจะออกรากได้ดีกว่ากิ่งที่มีอายุมาก
และควรเป็นกิ่งกระโดงหรือกิ่งน้ำค้าง ที่สมบูรณ์ ปราศจากโรคและแมลง
ควั่นเปลือกกิ่ง ความยาวของรอยแผล ประมาณเส้นรอบวงของกิ่ง ทั้งด้านบนและล่างของกิ่ง
ความสมบูรณ์ : กิ่งที่มีความสมบูรณ์ พร้อมต่อการขยายพันธุ์ ลอกเปลือกออกง่ายมาก เปลือกไม่ติดเนื้อกิ่ง เปลือกกิ่งในจะมีน้ำหล่อเลี้ยงชุ่มชื้นดี
แล้วลอกเอาเปลือกออกและขูดเยื่อเจริญที่เป็นเมือกลื่นๆ
รอบกิ่งออกให้หมด เสร็จแล้วใช้เชือกมักพร้อมกิ่งไม้เล็กไว้ใต้แก้ว
เพื่อไม่ให้แก้วหล่น
การขูดผิวเมือก :
เป็นการตัดท่อน้ำเลี้ยงท่ออาหารของพืช หลายคนมักพูดว่าไม่จำเป็นต้องขูดออก
มันก็งอกรากได้ไม่ต้องมาก เรื่องนี้ใช่ถูกต้องครับ....แต่
เท่าที่ผมทำมาก่อนและสังเกตเห็นว่า รากจะออกได้ ช้ากว่า จำนวนน้อยกว่า
นั่นก็เพราะว่าราก ของพืชยังสามารถส่ง Auxins,IAA,IBAและสารอื่นๆ
ไปเลี้ยงปลายยอดได้อยู่ ทำให้พืชยังเจริญเติบโตทางยอดและลำต้น
Auxinsยังไม่ถูกตัดขาดฉบับพลัน.. Auxins
ที่อยู่ปลายยอดจึงไม่ไหลย้อนลงมาที่บาดแผล(รอยควั่น)ได้มากพอ
จึงทำให้พืชออกรากได้ช้าลงครับ
นำฮอร์โมนเร่งรากทาเหนือบริเวณรอยควั่นขึ้นไป 2-4 ซม. รอจนน้ำยาแห้ง
นำแก้วพาสติกผ่าแล้วนำมาใส่กิ่งตอน
นำขุยมะพร้าวเก่า+ปุ๋ยอินทรีย์ผสมกันเรียบร้อย ที่แช่น้ำจนอิ่มตัว
แล้วบีบน้ำออกพอหมาดๆ อัดลงในแก้วพลาสติกอย่าให้แน่นมาก แล้วใช้ฝาปิดแก้ว
เสร็จแล้วนำพาสติกใสพันโดยรอบหรือใช้ยางวงรัดโดยรอบ
ใช้กระดาษฟอยหรือหนังสือพิมพ์ห่อแก้วป้องกันความร้อนจากแสงแดด หลังจาก 20 วันจะเห็นรากงอกออกมาให้เห็น
ข้อมูล : https://farmlandthai.blogspot.com/2017/02/air-layering.html
ขอบคุณรูปภาพจากอาจารย์ภูชิต พุทธาวุฒิไกร