ไข่นับว่าเป็นอาหารที่มีความสำคัญมากและรับประทานกันแพร่หลายทั่วๆไป
เป็นที่รู้กันว่าไข่คืออาหารเพื่อสุขภาพ กับคนทุกเพศทุกวัย
แต่ทีนีมีคำถามว่าไข่เป็ด กับไข่ไก่ มีประโยชน์ต่างกันหรือไม่...
โปรตีนจากไข่ขาวเป็นโปรตีนชั้นดี ซึ่งร่างกายสามารถนำไปใช้แทนเนื้อเยื่อที่เสื่อมสภาพของร่างกายได้ทั้งหมด นับว่าดีกว่าเนื้อสัตว์เสียอีก ทางการแพทย์บอกว่า ไข่ขาวสามารถเปลี่ยนเป็นโปรตีนของร่างกายได้เต็ม 100 % ประชาชนของประเทศส่วนใหญ่ไม่ค่อยจะสนใจมากนัก เราควรจะหันมาให้ความสนใจกับการรับประทานไข่ให้มากขึ้น จะเป็นไข่ไก่หรือไข่เป็ดก็ได้ เพราะล้วนแต่ให้ประโชน์ทั้งนั้น
สารอาหาร ไข่ไก่ ไข่เป็ด
พลังงาน ( แคลอรี ) 169 180
ไขมัน ( กรัม ) 11.9 12.6
คาร์โบไฮเดรต ( กรัม ) 1.7 4.1
โปรตีน ( กรัม ) 12.7 11.7
แคลเซี่ยม ( มิลลิกรัม ) 76.0 71.0
เหล็ก ( มิลลิกรัม ) 3.5 2.8
วิตามิน บี 1 ( มิลลิกรัม ) 0.08 0.27
วิตามิน บี 2 (มิลลิกรัม ) 0.48 0.56
วิตามิน บี 5 (มิลลิกรัม ) 0.1 0.1
โอเมก้า3 หรือ DHA ในไข่
ด้านคุณค่าทางโภชนาการ ในต่างประเทศที่นิยมเลี้ยงไก่สายพันธุ์ที่ออกไข่สีขาวมักกล่าวอ้างเพื่อโฆษณาขายไข่สีน้ำตาลซึ่งมีราคาแพงกว่าว่า ไข่สีน้ำตาลมีสารอาหารและกลิ่นรสดีกว่า แต่จริงๆ แล้วเปลือกสีต่างกันไม่ได้ทำให้ปริมาณสารอาหารต่างๆ ในไข่ต่างกันเลย เมื่อนำไปทำอาหารก็ไม่ได้แตกต่างกันด้วย ไม่ว่าจะเป็นเนื้อสัมผัสและการขึ้นฟู เพราะไข่ที่มีเปลือกสีต่างกันเกิดขึ้นจากกระบวนการสร้างเปลือกของแม่ไก่แต่ละสายพันธุ์เท่านั้น แต่การสร้างองค์ประกอบอื่นๆ ในไข่ไม่ได้ต่างกัน
หลายคนคงเคยเห็นไข่โอเมกา-3 ไข่ดีเอชเอ ไข่ไอโอดีน ไข่เหล่านี้ผลิตโดยการเสริมสารอาหารเหล่านั้นลงในอาหารไก่ โดยเฉพาะน้ำมันปลาซึ่งมีอีพีเอ (Eicosapentaenoic Acid, EPA) และดีเอชเอ (Docosahexaenoic Acid, DHA) ซึ่งเป็นกรดไขมันโอเมกา-3 (Omega-3 Fatty Acids) ทำให้ไข่ที่แม่ไก่สร้างขึ้นมีปริมาณสารเหล่านี้สูงขึ้นตามไปด้วย ส่วนจะมากน้อยแค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับปริมาณที่เติมลงในอาหารไก่
จริงๆ แล้วไข่ไก่ก็มีกรดไขมันโอเมกา-3 แต่มีปริมาณน้อยและไม่ใช่อีพีเอ ดีเอชเอ แต่เป็นกรดไขมันโอเมกา-3 ตัวอื่น เช่น กรดอัลฟาลิโนเลนิก หรือ เอแอลเอ (α-linilenic Acid, ALA) ซึ่งพบตามธรรมชาติในน้ำมันถั่วเหลืองด้วยไข่โอเมกา-3 และไข่ดีเอชเอไม่ได้มีปริมาณไขมันสูงกว่าไข่ทั่วไป ปริมาณไขมันซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในไข่แดงก็ไม่ได้แตกต่างกัน เพียงแต่สัดส่วนและปริมาณของกรดไขมันชนิดต่างๆ อาจต่างกันไป เนื่องจากมีกรดไขมันโอเมกา-3 ซึ่งเป็นกรดไขมันไม่อิ่มตัวชนิดหลายตำแหน่ง (Polyunsaturated Fatty Acid) ในปริมาณมากกว่าแต่ปริมาณสารอาหารสำคัญอย่างโปรตีนยังเท่าเดิม
โปรตีนจากไข่ขาวเป็นโปรตีนชั้นดี ซึ่งร่างกายสามารถนำไปใช้แทนเนื้อเยื่อที่เสื่อมสภาพของร่างกายได้ทั้งหมด นับว่าดีกว่าเนื้อสัตว์เสียอีก ทางการแพทย์บอกว่า ไข่ขาวสามารถเปลี่ยนเป็นโปรตีนของร่างกายได้เต็ม 100 % ประชาชนของประเทศส่วนใหญ่ไม่ค่อยจะสนใจมากนัก เราควรจะหันมาให้ความสนใจกับการรับประทานไข่ให้มากขึ้น จะเป็นไข่ไก่หรือไข่เป็ดก็ได้ เพราะล้วนแต่ให้ประโชน์ทั้งนั้น
สารอาหาร ไข่ไก่ ไข่เป็ด
พลังงาน ( แคลอรี ) 169 180
ไขมัน ( กรัม ) 11.9 12.6
คาร์โบไฮเดรต ( กรัม ) 1.7 4.1
โปรตีน ( กรัม ) 12.7 11.7
แคลเซี่ยม ( มิลลิกรัม ) 76.0 71.0
เหล็ก ( มิลลิกรัม ) 3.5 2.8
วิตามิน บี 1 ( มิลลิกรัม ) 0.08 0.27
วิตามิน บี 2 (มิลลิกรัม ) 0.48 0.56
วิตามิน บี 5 (มิลลิกรัม ) 0.1 0.1
โอเมก้า3 หรือ DHA ในไข่
ด้านคุณค่าทางโภชนาการ ในต่างประเทศที่นิยมเลี้ยงไก่สายพันธุ์ที่ออกไข่สีขาวมักกล่าวอ้างเพื่อโฆษณาขายไข่สีน้ำตาลซึ่งมีราคาแพงกว่าว่า ไข่สีน้ำตาลมีสารอาหารและกลิ่นรสดีกว่า แต่จริงๆ แล้วเปลือกสีต่างกันไม่ได้ทำให้ปริมาณสารอาหารต่างๆ ในไข่ต่างกันเลย เมื่อนำไปทำอาหารก็ไม่ได้แตกต่างกันด้วย ไม่ว่าจะเป็นเนื้อสัมผัสและการขึ้นฟู เพราะไข่ที่มีเปลือกสีต่างกันเกิดขึ้นจากกระบวนการสร้างเปลือกของแม่ไก่แต่ละสายพันธุ์เท่านั้น แต่การสร้างองค์ประกอบอื่นๆ ในไข่ไม่ได้ต่างกัน
หลายคนคงเคยเห็นไข่โอเมกา-3 ไข่ดีเอชเอ ไข่ไอโอดีน ไข่เหล่านี้ผลิตโดยการเสริมสารอาหารเหล่านั้นลงในอาหารไก่ โดยเฉพาะน้ำมันปลาซึ่งมีอีพีเอ (Eicosapentaenoic Acid, EPA) และดีเอชเอ (Docosahexaenoic Acid, DHA) ซึ่งเป็นกรดไขมันโอเมกา-3 (Omega-3 Fatty Acids) ทำให้ไข่ที่แม่ไก่สร้างขึ้นมีปริมาณสารเหล่านี้สูงขึ้นตามไปด้วย ส่วนจะมากน้อยแค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับปริมาณที่เติมลงในอาหารไก่
จริงๆ แล้วไข่ไก่ก็มีกรดไขมันโอเมกา-3 แต่มีปริมาณน้อยและไม่ใช่อีพีเอ ดีเอชเอ แต่เป็นกรดไขมันโอเมกา-3 ตัวอื่น เช่น กรดอัลฟาลิโนเลนิก หรือ เอแอลเอ (α-linilenic Acid, ALA) ซึ่งพบตามธรรมชาติในน้ำมันถั่วเหลืองด้วยไข่โอเมกา-3 และไข่ดีเอชเอไม่ได้มีปริมาณไขมันสูงกว่าไข่ทั่วไป ปริมาณไขมันซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในไข่แดงก็ไม่ได้แตกต่างกัน เพียงแต่สัดส่วนและปริมาณของกรดไขมันชนิดต่างๆ อาจต่างกันไป เนื่องจากมีกรดไขมันโอเมกา-3 ซึ่งเป็นกรดไขมันไม่อิ่มตัวชนิดหลายตำแหน่ง (Polyunsaturated Fatty Acid) ในปริมาณมากกว่าแต่ปริมาณสารอาหารสำคัญอย่างโปรตีนยังเท่าเดิม