คุณมีอาการแบบนี้รึเปล่า ?! 12 สัญญาณ..บ่งบอกว่าเป็นโรคไต!!

12 สัญญาณ..บ่งบอกว่าเป็นโรคไต!!

คุณมีอาการแบบนี้รึเปล่า ?! สัญญาณเตือนว่าคุณกำลังเป็น "โรคไต"

"ไต" เป็นอวัยวะส่วนหนึ่งที่มีความสำคัญต่อสุขภาพมากๆ โดยปกติแล้วไตจะทำหน้าที่ในการกำจัดของเสียออกจากร่างกาย ผ่านทางระบบขับถ่ายทางเดินปัสสาวะ หากเกิดความผิดปกติกับไต หรือทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ ก็จะส่งผลกระทบต่ออวัยวะต่างๆ และหากไม่ได้รับการดูแลรักษาที่ดี ก็จะเป็นสาเหตุให้เกิดภาวะไตวาย อันตรายถึงแก่ชีวิตได้เลยทีเดียวค่ะ ซึ่งโรคไตวายนั้นสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน ดังนั้น เพื่อให้รู้เท่าทันโรคไต เราควรหมั่นสังเกตสุขภาพกันหน่อย วันนี้เรามี 12 สัญญาณบ่งบอกว่าเป็นโรคไตมาฝากกันค่ะ รีบเช็คด่วนเลย

โรคไต (Kidney disease) คือ โรคที่เกิดจากไตทำงานผิดปกติ ไตจะทำงานได้ลดลง จึงก่อให้เกิดการคั่งของสิ่งที่ร่างกายไม่ต้องการ ส่งผลถึงการทำงานของเนื้อเยื่อ/อวัยวะต่างๆทั่วร่างกาย ก่อให้เกิดอาการผิดปกติต่างๆ จนถึงเกิดเป็นภาวะไตวาย ซึ่งการที่ร่างกายกำจัดของเสียไม่ได้ เนื้อเยื่อ/อวัยวะต่างๆ ก็จะไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ จนในที่สุดเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตจากภาวะไตวาย



 โรคไต แบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ


   1) โรคไตเฉียบพลัน พบได้น้อยและมักสามารถรักษาได้หายในระยะเวลาสั้นๆ เช่น ไตขาดเลือดจากอุบัติเหตุ เป็นต้น

   2) โรคไตเรื้อรัง พบได้สูง มีปัจจัยเสี่ยงสำคัญของโรตไตเรื้อรัง คือ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคอ้วน โรคไขมันในเลือดสูง และโรคหัวใจ เป็นต้น

 ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคไต


เป็นกลุ่มที่ควรได้รับการตรวจหาโรคไตแต่เนิ่นๆ ได้แก่

   – ผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปี เพราะการทำงานของไตจะลดลงตามอายุที่มากขึ้น

   – ผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตสูง

   – ผู้ป่วยที่เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง หรือโรคหลอดเลือดอื่นๆ

   – ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน

   – ผู้ที่เป็นโรคไตอยู่ก่อนแล้ว เช่น โรคไตอักเสบ โรคเอสแอลอี (SLE) โรคเกาต์ โรคไตอักเสบชนิดไม่ใช่ติดเชื้อโรค

   – ผู้ที่มีประวัติสมาชิกในครอบครัวเป็นโรคไตชนิดใดชนิดหนึ่ง

   – ผู้ป่วยที่เป็นโรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ เป็นซ้ำๆ หลายครั้ง

   – ผู้ที่รับประทานยาบางชนิด โดยเฉพาะยาแก้ปวดที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (non-steroidal anti-inflammatory drugs: NSAIDs) หรือสัมผัสสารเคมีบางชนิดติดต่อกันเป็นเวลานาน

 สัญญาณที่บ่งบอกได้ว่าคุณอาจเป็นโรคไต


  1. ระบบทางเดินปัสสาวะผิดปกติ

    – ปัสสาวะเป็นเลือด เป็นข้อสันนิฐาน ที่มีน้ำหนักมากว่าจะเป็นโรคไต อาจเป็นเลือดสดๆ เลือดเป็นลิ่มๆ ปัสสาวะเป็นสีแดง สีน้ำล้างเนื้อ สีชาแก่ๆ หรือปัสสาวะเป็นสีเหลืองเข้ม

    – ปัสสาวะเป็นฟองมาก เพราะมี albumin หรือโปรตีนออกมามาก จะทำให้ปัสสาวะมีฟองขาวๆ เหมือนฟองสบู่

    – ปัสสาวะขุ่น

  2. การผิดปกติของการถ่ายปัสสาวะ

    เช่นการถ่ายปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะแสบ ปัสสาวะราด เบ่งปัสสาวะ อาการเหล่านี้ ล้วนเป็นอาการผิดปกติ ของระบบทางเดินปัสสาวะ เช่นกระเพาะปัสสาวะ ต่อมลูกหมาก และท่อทางเดินปัสสาวะ

  3. คัน จากการระคายเคืองผิวหนังจากของเสียต่างๆ

  4. ซีดหรือโลหิตจาง มีอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย เบื่ออาหาร รสชาติอาหารแปลกไป ทั้งนี้จากผลของมีของเสียสะสมในร่างกาย

  5. คลื่นไส้ อาเจียน จากการสะสมของของเสียเช่นกัน

  6. มีน้ำในร่างกายมาก เพราะไตขับออกไม่ได้ จึงเกิดอาการบวม มักเริ่มที่ เท้า และรอบดวงตาก่อน เมื่อเป็นมาก จะเกิดอาการของไตวาย เช่น สับสน โคม่า และเสียชีวิตในที่สุด

  7. ปวดท้องอย่างรุนแรง ร่วมกับการมีปัสสาวะเป็นเลือดปัสสาวะขุ่น หรือมีกรวดทราย แสดงว่าเป็นนิ่วในไตและทางเดินปัสสาวะ

  8. มีก้อนบริเวณไต หรือบริเวณบั้นเอวทั้ง 2 ข้าง อาจเป็น โรคไตเป็นถุงน้ำ

การอุดตันของไต หรือเนื้องอกของไต

  9. ปวดหลัง ในกรณีที่เป็นกรวยไตอักเสบ จะมีอาการไข้หนาวสั่นและปวดหลังบริเวณไตคือบริเวณสันหลังใต้ซี่โครงซีกสุดท้าย

  10. ความดันโลหิตสูง เนื่องจากไตสร้างสารควบคุมความดันโลหิต ประกอบกับไตมีหน้าที่รักษาสมดุลของน้ำและเกลือแร่ในร่างกาย เพราะฉะนั้นความดันโลหิตสูงอาจเป็นจากโรคไตโดยตรง หรือในระยะไตวายมากๆ ความดันโลหิตก็จะสูงได้

  อาหารสำหรับผู้ป่วยโรคไต


   ควรจำกัดและหลีกเลี่ยงอาหารบางชนิด เนื่องจากเมื่อไตไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ การได้รับสารอาหารบางชนิดมากเกินไป อาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพ ร่างกายมีการสะสมของเสียมากเกินไป

>>> อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง

   – อาหารที่มีโซเดียมสูง (เช่น ปลาเค็ม แฮม เบคอน ไส้กรอก อาหารดอง ขนมขบเคี้ยว เนยแข็ง) อาหารรสจืดแต่มีโซเดียมเป็นส่วนประกอบ (เช่น ขนมปังเนื่องจากมีการใช้ผงฟู)

   – อาหารที่มีโพแทสเซียมสูง เช่น ผลไม้แห้งทุกชนิด ทุเรียน มะขาม แคนตาลูป น้ำลูกยอ มะเขือเทศ ผักใบเขียว หัวผักกาด กล้วย ส้ม มะละกอ ขนุน เป็นต้น

   – อาหารที่มีฟอสฟอรัส ได้แก่ รำข้าว เนยแข็ง นมและผลิตภัณฑ์จากนม นมข้นหวาน ไข่ปลา ไข่แดง กุ้ง ปู ผลิตภัณฑ์ที่ใส่ผงฟู ถั่วเมล็ดแห้ง น้ำอัดลมสีดำ เป็นต้น

   – ในหมู่โปรตีนบางชนิด ได้แก่ เนื้อสัตว์ที่มีไขมันและคอเลสเตอรอลมาก (เช่น ไข่แดง เครื่องในสัตว์ หนังหมู หนังเป็ดและไก่ เนื้อหมูและเนื้อวัวติดมัน ซี่โครงหมูที่ติดมันมาก หมูหัน เป็ดปักกิ่ง หมูสามชั้น หมูกรอบ เป็ดย่าง ห่านพะโล้ ไข่ปลา ไข่กุ้ง) เนื้อสัตว์ที่มีกรดอะมิโนจำเป็นไม่ครบ ซึ่งทำให้ไตทำงานขับถ่ายของเสียหนักขึ้น (เช่น เอ็นหมู เอ็นวัว เอ็นไก่ หูฉลาม ตีนเป็ด ตีนไก่ หนังสัตว์ กระดูกอ่อน รวมทั้งถั่วเมล็ดแห้งต่างๆ และขนม อาหารที่มีไส้ถั่ว)

ข้อควรปฏิบัติ


   – ควรรับประทานอาหารให้หลากหลายในแต่ละมื้ออาหาร และครอบคลุมหมู่อาหารทั้ง 5 หลีกเลี่ยงอาหารที่มีผลต่อไต

   – กินอาหารที่มีโคเลสเตอรอลต่ำ โดยผู้ป่วยที่เป็นโรคไตวายเรื้อรัง ควรควบคุมปริมาณโคเลสเตอรอล ในอาหารแต่ละวันไม่ให้เกิน 300 มิลลิกรัม / วัน

   – ผู้มีภาวะไตเรื้อรัง ห้ามใช้ซอสปรุงรสเทียม เกลือเทียม ซีอิ๊วเทียม น้ำปลาเทียม หากต้องการเพิ่มรสชาติอาหารให้ใช้เครื่องเทศแทน

  – ผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังที่มีน้ำหนักเกิน น้ำหนักจริงที่ควรเป็น (Ideal Weight for Height) ในคนปกติ ควรจำกัดปริมาณแคลอรี ให้พอเพียงในแต่ละวันเท่านั้น คือ ประมาณ 30-35 กิโลแคลอรี / น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม / วัน

   หากใครที่ได้อ่านบทความนี้แล้ว สงสัยว่าตนเป็นโรคไตหรือไม่ ทางที่ดีที่สุดคือต้องไปพบแพทย์ เพื่อจะได้ตรวจอย่างแน่นอนขึ้นว่าเป็นโรคไตหรือไม่ และหากพบว่าเป็น จะได้ทำการรักษาแต่เนิ่นๆ และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการกินและการอยู่ให้มากขึ้น จะได้ห่างไกลความเจ็บป่วยของโรคได้ค่ะ

ข้อมูลและภาพจาก kaijeaw