การชอบเก็บสะสมของสวย ๆ งาม ๆ หรือมีคุณค่าทางจิตใจนั้นมิใช่เรื่องแปลก
แต่ถ้าคุณชอบเก็บสะสมของที่หมดอายุแล้วจนกองท่วมบ้านนี่สิแปลกของแท้
เพราะนั่นคืออาการของโรคเก็บสะสมของ (Hoarding Disorder)
“ของของใครใครก็ต้องหวง…ห่วงใยรักใคร่ถนอม” การรู้จักทะนุถนอม เก็บรักษาสมบัติส่วนตัวนั้นเป็นสิ่งที่ดีค่ะ แต่ถ้าคุณเก็บสะสมดะไปหมดตั้งแต่หนังสือพิมพ์ นิตยสาร ที่หมดอายุแล้ว เสื้อผ้า ใบเสร็จ ถุงพลาสติก ขวดต่าง ๆ ที่ไม่ใช้แล้ว และตัดใจทิ้งอะไรไม่ลงเลยสักอย่าง จนของกองพะเนินเต็มบ้าน แทบจะไม่มีที่นั่งที่เดิน แบบนี้ คุณเข้าข่ายจะเป็นโรคเก็บสะสมของ (Hoarding Disorder) แล้วล่ะค่ะ และในวันนี้กระปุกดอทคอมจะพาคุณไปรู้จักโรคนี้กันอย่างละเอียดเลยทีเดียว
โรคเก็บสะสมของ (Hoarding Disorder) คืออะไรกันแน่
โรคเก็บสะสมของ คือ อาการทางจิตเวชชนิดหนึ่งของคนที่ชอบเก็บสะสมของไว้มาก ไม่กล้าทิ้งอะไรเลย ยึดติดว่าทุกชิ้นเป็นของสำคัญ จนรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน
หรือทำให้เกิดอันตราย เช่น หกล้มเพราะสะดุดข้าวของ ข้าวของล้มทับ หรือป่วยเป็นภูมิแพ้จากห้องรก สกปรก โรคนี้เป็นโรคที่เพิ่งถูกเพิ่มเข้ามาในเกณฑ์วินิจฉัยโรคทางจิตเวช (DSM 5) เมื่อปี พ.ศ. 2556 ซึ่งพฤติกรรมการเก็บสะสมของนั้นจะเริ่มมาตั้งแต่วัยรุ่น และเมื่อมีอายุมากขึ้นก็จะมีสิ่งของที่ให้เก็บสะสมมากขึ้น และอาการของโรคก็จะรุนแรงขึ้นด้วย
โรคเก็บสะสมของ สาเหตุมาจากอะไร
โรคนี้ยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด แต่จากการศึกษาพบว่ามีอยู่หลายสาเหตุที่ทำให้เป็นโรคเก็บสะสมของ กล่าวคือ
พันธุกรรม
คนที่มีสมาชิกครอบครัว โดยเฉพาะญาติสายตรง เช่น พ่อหรือแม่ ที่เป็นโรคชอบสะสมของก็มีสิทธิ์ป่วยเป็นโรคชอบสะสมของเช่นกันค่ะ
สมองได้รับการบาดเจ็บ
จากการศึกษากลุ่มบุคคลที่ได้รับบาดเจ็บที่สมองส่วนหน้าจนถึงสมองส่วนกลาง พบว่าก่อนหน้านั้นพวกเขาไม่เคยมีพฤติกรรมสะสมสิ่งของที่ไร้ประโยชน์เลย จนกระทั่งได้รับบาดเจ็บที่สมอง
สมองบางส่วนทำงานลดลง
จากการศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์สมองพบว่า สมองส่วนซินกูเลทคอร์เท็กซ์ (cingulate cortex) และออกซิพิทัล โลบ (occipital lobe) ซึ่งทำหน้าที่คิดและตัดสินใจของผู้ที่เป็นโรคเก็บสะสมของทำงานลดลง
นอกจากสาเหตุดังกล่าวแล้ว ยังพบว่าอาการชอบเก็บสะสมของนั้นยังเกิดขึ้นได้กับคนที่เป็นโรคอื่น ๆ ด้วยเช่นกัน เป็นต้นว่า
- โรคย้ำคิดย้ำทำ (Obsessive Compulsive Disorder ; OCD)
หนึ่งในสามของคนที่เป็นโรคย้ำคิดย้ำทำเป็นโรคชอบเก็บสะสมของด้วย
- โรคสมองเสื่อม (Dementia)
บางคนที่เป็นโรคสมองเสื่อมก็มีอาการชอบสะสมสิ่งของ ไม่ยอมให้ใครเอาของไปทิ้งเช่นกันค่ะ
- โรคซึมเศร้า (Depression)
โรคซึมเศร้า อาจทำให้เราหมดความสนใจในกิจวัตรประจำวัน ทำให้เราไม่มีสมาธิ และตัดสินใจยาก
- โรคไบโพลาร์ (Bipolar disorder)
โรคไบโพลาร์อาจทำให้เราช้อปปิ้งมากเกินไปและมีปัญหาในการจัดการ
- โรคจิตเภท (Schizophrenia)
โรคจิตเภทอาจทำให้เรามีความเชื่อแปลก ๆ และจัดการได้ไม่ดี ซึ่งนำไปสู่พฤติกรรมชอบสะสมของได้
- ความบกพร่องทางการเรียนรู้ (Learning disability)
ความบกพร่องทางการเรียนรู้อาจทำให้เรามีปัญหาเกี่ยวกับความคิดและความจำ
โรคเก็บสะสมของ (Hoarding Disorder) อาการเป็นยังไง
- ไม่กล้าตัดสินใจทิ้งข้าวของเลยและมีความกังวลใจมากเมื่อต้องทิ้งข้าวของ
- รู้สึกยากลำบากในการจัดเรียงข้าวของให้เป็นหมวดหมู่
- รู้สึกทนทุกข์กับการเป็นเจ้าข้าวเจ้าของอย่างมาก หรือรู้สึกละอายใจเพราะข้าวของที่ตัวเองเก็บ
- ไม่ไว้ใจ กลัวคนอื่นจะมาแตะต้องข้าวของตัวเอง และไม่ยอมให้ใครมาหยิบยืมไปด้วย
- มีความคิดและการกระทำที่หมกมุ่น เช่น กลัวว่าถ้าทิ้งสิ่งใดไปแล้ว ในอนาคตจะไม่มีใช้ เมื่อเผลอทิ้งสิ่งใดไปก็จะรีบไปเช็กดูที่ถังขยะแล้วเอากลับคืนมาทันที
- ไม่สามารถดำเนินชีวิตโดยปกติได้ เช่น ไม่มีพื้นที่อยู่อาศัย แยกตัวออกจากสังคม ทะเลาะกับสมาชิกในครอบครัวหรือคู่สมรส มีปัญหาทางการเงิน มีปัญหาด้านสุขภาพ
อ่านมาถึงตรงนี้แล้ว เชื่อว่าหลายคนก็ยังสงสัยว่าคนที่เป็นโรคเก็บสะสมของ เขาคิดอะไรกันอยู่ ถึงได้สะสมของที่ไร้ประโยชน์ได้เยอะแยะขนาดนั้น เรามีคำตอบมาบอกกัน
โรคเก็บสะสมของ กับเหตุผลลึก ๆ ของคนป่วย !
- คนที่เป็นโรคนี้เชื่อว่าของที่เขาสะสมอาจได้ใช้ประโยชน์ หรือมีมูลค่าในอนาคต
- ของที่สะสมนั้นมีคุณค่าทางจิตใจ ทำให้เขานึกถึงช่วงเวลาที่มีความสุข เพราะเป็นตัวแทนคนหรือสัตว์ที่เขารัก
- คนที่เป็นโรคนี้จะรู้สึกปลอดภัยเมื่อได้อยู่ท่ามกลางของที่เขาสะสม
โรคเก็บสะสมของ (Hoarding Disorder) ใครเสี่ยงบ้าง เรามีโอกาสป่วยไหม
โรคเก็บสะสมของนั้นเกิดได้กับทุกคน ทุกเพศ ทุกวัย มาเช็กกันดูดีกว่าค่ะว่าคุณมีปัจจัยเสี่ยงจะเป็นโรคชอบสะสมของบ้างหรือไม่
- พันธุกรรม
เมื่อสืบประวัติคนที่เป็นโรคชอบสะสมของดู จะพบว่าเขามีญาติสนิท เช่น พ่อหรือแม่ที่ป่วยเป็นโรคนี้เช่นเดียวกัน
- ผู้ที่มีอายุประมาณ 11-15 ปีขึ้นไป
โรคเก็บสะสมของนั้นมักจะพบตั้งแต่เด็กที่มีอายุประมาณ 11-15 ปีขึ้นไป โดยอาจจะเริ่มสะสมของเล่นที่พังแล้ว ดินสอกุด ๆ เครื่องใช้ไฟฟ้าที่เสียแล้วเป็นอย่างแรก แล้วมีอาการเช่นนี้ต่อเนื่องไปตลอดชีวิต โดยในช่วงเป็นวัยรุ่นจะยังไม่ค่อยเป็นปัญหามากนัก เพราะของสะสมยังไม่มาก แต่เมื่อถึงวัยผู้ใหญ่อาจเกิดปัญหาขึ้นได้ เพราะของสะสมนั้นจะมากขึ้นเรื่อย ๆ
- ไม่กล้าตัดสินใจ
คนที่เป็นโรคเก็บสะสมของนั้นมีปัญหาด้านการตัดสินใจในชีวิตประจำวัน ไม่รู้ว่าจะทำอะไร จะพูดมากหรือน้อยขนาดไหนจึงจะเหมาะสม
- เคยพบเจอกับเหตุการณ์ที่ยุ่งยาก ลำบากในชีวิต
บางคนหลังจากที่ประสบกับเหตุการณ์ครั้งยิ่งใหญ่ในชีวิต เช่น สูญเสียคนที่รัก หย่าร้าง ไฟไหม้บ้าน ก็อาจจะเริ่มมีอาการเก็บสะสมของด้วย ทั้งนี้เพราะพวกเขากลัวว่าจะต้องสูญเสียอะไรไปอีก
- วัยเด็กค่อนข้างขาดแคลนทางวัตถุและมีความสัมพันธ์ที่ไม่ดีกับคนในครอบครัว
บางคนที่โตมาในครอบครัวฐานะยากจนจะมีความรู้สึกว่าตัวเองไม่มีเงินพอหรือไม่มีทางมีเงินพอที่ซื้อของใหม่แน่ ๆ จึงเก็บสะสมของทุกอย่างที่ขวางหน้า นอกจากนี้บางคนที่โตมาในครอบครัวที่มักทะเลาะเบาะแว้งกันเป็นประจำก็มีโอกาสที่จะเป็นโรคเก็บสะสมของด้วยเช่นกัน
- วัยเด็กเติบโตมาในครอบครัวที่มีความเป็นอยู่รกรุงรัง
เด็กที่โตมาในครอบครัวที่ไร้ระเบียบจะไม่ได้เรียนรู้เรื่องการจัดเก็บสิ่งของให้เป็นระเบียบ จึงมีโอกาสโตมาเป็นโรคเก็บสะสมของด้วย
- แยกตัวจากสังคม
คนที่แยกตัวจากสังคม ไม่ค่อยมีปฏิสัมพันธ์กับใครมีโอกาสจะเป็นโรคเก็บสะสมของได้ด้วยเหมือนกัน
- คนที่อาศัยอยู่คนเดียวและเป็นโสด
คนที่อาศัยอยู่ลำพังและเป็นโสดอาจจะรู้สึกเหงาจนต้องเก็บสะสมของ ซึ่งอาจนำไปสู่โรคเก็บสะสมของได้
โรคเก็บสะสมของ ป่วยแล้วอันตรายไหม กระทบชีวิตแค่ไหน
- เป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้ป่วยและคนรอบข้าง
ที่อยู่อาศัยที่รกนั้นเป็นบ่อเกิดของเชื้อโรค และอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุ เช่น ลื่นล้ม ของตกใส่ หรือเกิดไฟไหม้ได้
- ส่งผลกระทบต่อจิตใจของผู้ป่วยและคนรอบข้าง
ผู้ป่วยจะรู้สึกย่ำแย่เมื่อมีใครพยายามจะมาจัดแจงข้าวของของตน ส่วนคนรอบข้างก็รู้สึกอับอายในสิ่งที่ผู้ป่วยสะสม อาจเกิดการทะเลาะกัน นำไปสู่การหย่าร้าง ทำให้ความสัมพันธ์กับผู้ป่วยและคนรอบข้างแย่ลง
- ข้าวของที่มีอยู่เยอะเกินไปนั้นรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน
เช่น มีของกองสุม ๆ อยู่ในห้องครัว ห้องนั่งเล่น จนผู้ป่วยและคนรอบข้างไม่สามารถใช้ห้องนั้นได้
โรคเก็บสะสมของรักษายังไงได้บ้าง
โรคเก็บสะสมของจะมีลักษณะเรื้อรัง ไม่หายขาด แต่สามารถรักษาให้อาการดีขึ้นได้ โดยในปัจจุบันวิธีรักษาโรคเก็บสะสมของนั้นนิยมรักษาอยู่ 2 แนวทาง คือการให้ยาต้านเศร้าและพฤติกรรมบำบัด
1. ใช้ยาต้านเศร้า (antidepressant)
คุณหมอจะให้ยาต้านเศร้าเพื่อให้เราลดความเครียดและความหมกมุ่นในการสะสมของ อย่างไรก็ตามวิธีนี้ได้ผลเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
2. พฤติกรรมบำบัด
พฤติกรรมบำบัดเป็นหนึ่งในวิธีรักษาอาการทางจิตที่ค่อนข้างเป็นที่นิยมและค่อนข้างได้ผลพอสมควร ซึ่งวิธีนี้ก็สามารถใช้เยียวยาอาการของโรคเก็บสะสมของได้ด้วย โดยเป็นวิธีที่มุ่งเน้นฝึกทักษะการตัดสินใจให้ผู้ป่วยสามารถจัดการเก็บหรือทิ้งสิ่งของในครอบครองได้อย่างมีเหตุผลยิ่งขึ้น การจัดกลุ่มข้าวของเครื่องใช้ รวมทั้งฝึกให้ทนได้กับการทิ้งของเหลือใช้ร่วมด้วย
อาการโรคสะสมของ (Hoarding Disorder) ต่างจากนักสะสมของยังไง ?
ความแตกต่างระหว่างนักสะสม กับ คนที่ป่วยเป็นโรคเก็บสะสมของนั้นแยกได้ง่ายมาก คือ คนที่เป็นนักสะสมนั้นมีเป้าหมายในการเก็บสะสม เขาจะเก็บของไว้เป็นระเบียบ และมักจะนำของสะสมออกมาอวดด้วยความภาคภูมิใจ ในขณะที่ผู้ป่วยโรคสะสมของนั้นมักจะเก็บสะสมสิ่งของที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์แล้ว เก็บไปเรื่อยเปื่อยแบบไม่รู้ตัว ปล่อยของที่สะสมไว้ระเกะระกะ และมักจะไม่ยอมให้ผู้ใดมายุ่งกับของของตน ซึ่งสิ่งสะสมที่พบบ่อยก็อย่างเช่น หนังสือ นิตยสาร เสื้อผ้า ถุงพลาสติก ขวดต่าง ๆ กล่องกระดาษ ฯลฯ
ลองสังเกตตัวคุณหรือว่าคนใกล้ชิดดูนะคะว่ามีอาการของโรคเก็บสะสมของบ้างหรือไม่ ถ้ามีแนะนำให้รีบไปพบจิตแพทย์ดูหน่อยค่ะ เพราะส่วนมากคนที่เป็นโรคนี้ไม่ได้มีปัญหาทางสุขภาพจิตเท่านั้นแต่มักจะมีปัญหาสุขภาพกายด้วย อันเป็นผลมาจากที่อยู่อาศัยที่ไร้ระเบียบนั่นเอง
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
เฟซบุ๊กสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย
โรงพยาบาลเลิดสิน
adaa.org
nhs.uk
“ของของใครใครก็ต้องหวง…ห่วงใยรักใคร่ถนอม” การรู้จักทะนุถนอม เก็บรักษาสมบัติส่วนตัวนั้นเป็นสิ่งที่ดีค่ะ แต่ถ้าคุณเก็บสะสมดะไปหมดตั้งแต่หนังสือพิมพ์ นิตยสาร ที่หมดอายุแล้ว เสื้อผ้า ใบเสร็จ ถุงพลาสติก ขวดต่าง ๆ ที่ไม่ใช้แล้ว และตัดใจทิ้งอะไรไม่ลงเลยสักอย่าง จนของกองพะเนินเต็มบ้าน แทบจะไม่มีที่นั่งที่เดิน แบบนี้ คุณเข้าข่ายจะเป็นโรคเก็บสะสมของ (Hoarding Disorder) แล้วล่ะค่ะ และในวันนี้กระปุกดอทคอมจะพาคุณไปรู้จักโรคนี้กันอย่างละเอียดเลยทีเดียว
โรคเก็บสะสมของ คือ อาการทางจิตเวชชนิดหนึ่งของคนที่ชอบเก็บสะสมของไว้มาก ไม่กล้าทิ้งอะไรเลย ยึดติดว่าทุกชิ้นเป็นของสำคัญ จนรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน
หรือทำให้เกิดอันตราย เช่น หกล้มเพราะสะดุดข้าวของ ข้าวของล้มทับ หรือป่วยเป็นภูมิแพ้จากห้องรก สกปรก โรคนี้เป็นโรคที่เพิ่งถูกเพิ่มเข้ามาในเกณฑ์วินิจฉัยโรคทางจิตเวช (DSM 5) เมื่อปี พ.ศ. 2556 ซึ่งพฤติกรรมการเก็บสะสมของนั้นจะเริ่มมาตั้งแต่วัยรุ่น และเมื่อมีอายุมากขึ้นก็จะมีสิ่งของที่ให้เก็บสะสมมากขึ้น และอาการของโรคก็จะรุนแรงขึ้นด้วย
โรคเก็บสะสมของ สาเหตุมาจากอะไร
โรคนี้ยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด แต่จากการศึกษาพบว่ามีอยู่หลายสาเหตุที่ทำให้เป็นโรคเก็บสะสมของ กล่าวคือ
พันธุกรรม
คนที่มีสมาชิกครอบครัว โดยเฉพาะญาติสายตรง เช่น พ่อหรือแม่ ที่เป็นโรคชอบสะสมของก็มีสิทธิ์ป่วยเป็นโรคชอบสะสมของเช่นกันค่ะ
สมองได้รับการบาดเจ็บ
จากการศึกษากลุ่มบุคคลที่ได้รับบาดเจ็บที่สมองส่วนหน้าจนถึงสมองส่วนกลาง พบว่าก่อนหน้านั้นพวกเขาไม่เคยมีพฤติกรรมสะสมสิ่งของที่ไร้ประโยชน์เลย จนกระทั่งได้รับบาดเจ็บที่สมอง
สมองบางส่วนทำงานลดลง
จากการศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์สมองพบว่า สมองส่วนซินกูเลทคอร์เท็กซ์ (cingulate cortex) และออกซิพิทัล โลบ (occipital lobe) ซึ่งทำหน้าที่คิดและตัดสินใจของผู้ที่เป็นโรคเก็บสะสมของทำงานลดลง
นอกจากสาเหตุดังกล่าวแล้ว ยังพบว่าอาการชอบเก็บสะสมของนั้นยังเกิดขึ้นได้กับคนที่เป็นโรคอื่น ๆ ด้วยเช่นกัน เป็นต้นว่า
- โรคย้ำคิดย้ำทำ (Obsessive Compulsive Disorder ; OCD)
หนึ่งในสามของคนที่เป็นโรคย้ำคิดย้ำทำเป็นโรคชอบเก็บสะสมของด้วย
- โรคสมองเสื่อม (Dementia)
บางคนที่เป็นโรคสมองเสื่อมก็มีอาการชอบสะสมสิ่งของ ไม่ยอมให้ใครเอาของไปทิ้งเช่นกันค่ะ
- โรคซึมเศร้า (Depression)
โรคซึมเศร้า อาจทำให้เราหมดความสนใจในกิจวัตรประจำวัน ทำให้เราไม่มีสมาธิ และตัดสินใจยาก
- โรคไบโพลาร์ (Bipolar disorder)
โรคไบโพลาร์อาจทำให้เราช้อปปิ้งมากเกินไปและมีปัญหาในการจัดการ
- โรคจิตเภท (Schizophrenia)
โรคจิตเภทอาจทำให้เรามีความเชื่อแปลก ๆ และจัดการได้ไม่ดี ซึ่งนำไปสู่พฤติกรรมชอบสะสมของได้
- ความบกพร่องทางการเรียนรู้ (Learning disability)
ความบกพร่องทางการเรียนรู้อาจทำให้เรามีปัญหาเกี่ยวกับความคิดและความจำ
- ไม่กล้าตัดสินใจทิ้งข้าวของเลยและมีความกังวลใจมากเมื่อต้องทิ้งข้าวของ
- รู้สึกยากลำบากในการจัดเรียงข้าวของให้เป็นหมวดหมู่
- รู้สึกทนทุกข์กับการเป็นเจ้าข้าวเจ้าของอย่างมาก หรือรู้สึกละอายใจเพราะข้าวของที่ตัวเองเก็บ
- ไม่ไว้ใจ กลัวคนอื่นจะมาแตะต้องข้าวของตัวเอง และไม่ยอมให้ใครมาหยิบยืมไปด้วย
- มีความคิดและการกระทำที่หมกมุ่น เช่น กลัวว่าถ้าทิ้งสิ่งใดไปแล้ว ในอนาคตจะไม่มีใช้ เมื่อเผลอทิ้งสิ่งใดไปก็จะรีบไปเช็กดูที่ถังขยะแล้วเอากลับคืนมาทันที
- ไม่สามารถดำเนินชีวิตโดยปกติได้ เช่น ไม่มีพื้นที่อยู่อาศัย แยกตัวออกจากสังคม ทะเลาะกับสมาชิกในครอบครัวหรือคู่สมรส มีปัญหาทางการเงิน มีปัญหาด้านสุขภาพ
อ่านมาถึงตรงนี้แล้ว เชื่อว่าหลายคนก็ยังสงสัยว่าคนที่เป็นโรคเก็บสะสมของ เขาคิดอะไรกันอยู่ ถึงได้สะสมของที่ไร้ประโยชน์ได้เยอะแยะขนาดนั้น เรามีคำตอบมาบอกกัน
- คนที่เป็นโรคนี้เชื่อว่าของที่เขาสะสมอาจได้ใช้ประโยชน์ หรือมีมูลค่าในอนาคต
- ของที่สะสมนั้นมีคุณค่าทางจิตใจ ทำให้เขานึกถึงช่วงเวลาที่มีความสุข เพราะเป็นตัวแทนคนหรือสัตว์ที่เขารัก
- คนที่เป็นโรคนี้จะรู้สึกปลอดภัยเมื่อได้อยู่ท่ามกลางของที่เขาสะสม
โรคเก็บสะสมของนั้นเกิดได้กับทุกคน ทุกเพศ ทุกวัย มาเช็กกันดูดีกว่าค่ะว่าคุณมีปัจจัยเสี่ยงจะเป็นโรคชอบสะสมของบ้างหรือไม่
- พันธุกรรม
เมื่อสืบประวัติคนที่เป็นโรคชอบสะสมของดู จะพบว่าเขามีญาติสนิท เช่น พ่อหรือแม่ที่ป่วยเป็นโรคนี้เช่นเดียวกัน
- ผู้ที่มีอายุประมาณ 11-15 ปีขึ้นไป
โรคเก็บสะสมของนั้นมักจะพบตั้งแต่เด็กที่มีอายุประมาณ 11-15 ปีขึ้นไป โดยอาจจะเริ่มสะสมของเล่นที่พังแล้ว ดินสอกุด ๆ เครื่องใช้ไฟฟ้าที่เสียแล้วเป็นอย่างแรก แล้วมีอาการเช่นนี้ต่อเนื่องไปตลอดชีวิต โดยในช่วงเป็นวัยรุ่นจะยังไม่ค่อยเป็นปัญหามากนัก เพราะของสะสมยังไม่มาก แต่เมื่อถึงวัยผู้ใหญ่อาจเกิดปัญหาขึ้นได้ เพราะของสะสมนั้นจะมากขึ้นเรื่อย ๆ
- ไม่กล้าตัดสินใจ
คนที่เป็นโรคเก็บสะสมของนั้นมีปัญหาด้านการตัดสินใจในชีวิตประจำวัน ไม่รู้ว่าจะทำอะไร จะพูดมากหรือน้อยขนาดไหนจึงจะเหมาะสม
- เคยพบเจอกับเหตุการณ์ที่ยุ่งยาก ลำบากในชีวิต
บางคนหลังจากที่ประสบกับเหตุการณ์ครั้งยิ่งใหญ่ในชีวิต เช่น สูญเสียคนที่รัก หย่าร้าง ไฟไหม้บ้าน ก็อาจจะเริ่มมีอาการเก็บสะสมของด้วย ทั้งนี้เพราะพวกเขากลัวว่าจะต้องสูญเสียอะไรไปอีก
- วัยเด็กค่อนข้างขาดแคลนทางวัตถุและมีความสัมพันธ์ที่ไม่ดีกับคนในครอบครัว
บางคนที่โตมาในครอบครัวฐานะยากจนจะมีความรู้สึกว่าตัวเองไม่มีเงินพอหรือไม่มีทางมีเงินพอที่ซื้อของใหม่แน่ ๆ จึงเก็บสะสมของทุกอย่างที่ขวางหน้า นอกจากนี้บางคนที่โตมาในครอบครัวที่มักทะเลาะเบาะแว้งกันเป็นประจำก็มีโอกาสที่จะเป็นโรคเก็บสะสมของด้วยเช่นกัน
- วัยเด็กเติบโตมาในครอบครัวที่มีความเป็นอยู่รกรุงรัง
เด็กที่โตมาในครอบครัวที่ไร้ระเบียบจะไม่ได้เรียนรู้เรื่องการจัดเก็บสิ่งของให้เป็นระเบียบ จึงมีโอกาสโตมาเป็นโรคเก็บสะสมของด้วย
- แยกตัวจากสังคม
คนที่แยกตัวจากสังคม ไม่ค่อยมีปฏิสัมพันธ์กับใครมีโอกาสจะเป็นโรคเก็บสะสมของได้ด้วยเหมือนกัน
- คนที่อาศัยอยู่คนเดียวและเป็นโสด
คนที่อาศัยอยู่ลำพังและเป็นโสดอาจจะรู้สึกเหงาจนต้องเก็บสะสมของ ซึ่งอาจนำไปสู่โรคเก็บสะสมของได้
- เป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้ป่วยและคนรอบข้าง
ที่อยู่อาศัยที่รกนั้นเป็นบ่อเกิดของเชื้อโรค และอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุ เช่น ลื่นล้ม ของตกใส่ หรือเกิดไฟไหม้ได้
- ส่งผลกระทบต่อจิตใจของผู้ป่วยและคนรอบข้าง
ผู้ป่วยจะรู้สึกย่ำแย่เมื่อมีใครพยายามจะมาจัดแจงข้าวของของตน ส่วนคนรอบข้างก็รู้สึกอับอายในสิ่งที่ผู้ป่วยสะสม อาจเกิดการทะเลาะกัน นำไปสู่การหย่าร้าง ทำให้ความสัมพันธ์กับผู้ป่วยและคนรอบข้างแย่ลง
- ข้าวของที่มีอยู่เยอะเกินไปนั้นรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน
เช่น มีของกองสุม ๆ อยู่ในห้องครัว ห้องนั่งเล่น จนผู้ป่วยและคนรอบข้างไม่สามารถใช้ห้องนั้นได้
โรคเก็บสะสมของจะมีลักษณะเรื้อรัง ไม่หายขาด แต่สามารถรักษาให้อาการดีขึ้นได้ โดยในปัจจุบันวิธีรักษาโรคเก็บสะสมของนั้นนิยมรักษาอยู่ 2 แนวทาง คือการให้ยาต้านเศร้าและพฤติกรรมบำบัด
1. ใช้ยาต้านเศร้า (antidepressant)
คุณหมอจะให้ยาต้านเศร้าเพื่อให้เราลดความเครียดและความหมกมุ่นในการสะสมของ อย่างไรก็ตามวิธีนี้ได้ผลเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
2. พฤติกรรมบำบัด
พฤติกรรมบำบัดเป็นหนึ่งในวิธีรักษาอาการทางจิตที่ค่อนข้างเป็นที่นิยมและค่อนข้างได้ผลพอสมควร ซึ่งวิธีนี้ก็สามารถใช้เยียวยาอาการของโรคเก็บสะสมของได้ด้วย โดยเป็นวิธีที่มุ่งเน้นฝึกทักษะการตัดสินใจให้ผู้ป่วยสามารถจัดการเก็บหรือทิ้งสิ่งของในครอบครองได้อย่างมีเหตุผลยิ่งขึ้น การจัดกลุ่มข้าวของเครื่องใช้ รวมทั้งฝึกให้ทนได้กับการทิ้งของเหลือใช้ร่วมด้วย
อาการโรคสะสมของ (Hoarding Disorder) ต่างจากนักสะสมของยังไง ?
ความแตกต่างระหว่างนักสะสม กับ คนที่ป่วยเป็นโรคเก็บสะสมของนั้นแยกได้ง่ายมาก คือ คนที่เป็นนักสะสมนั้นมีเป้าหมายในการเก็บสะสม เขาจะเก็บของไว้เป็นระเบียบ และมักจะนำของสะสมออกมาอวดด้วยความภาคภูมิใจ ในขณะที่ผู้ป่วยโรคสะสมของนั้นมักจะเก็บสะสมสิ่งของที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์แล้ว เก็บไปเรื่อยเปื่อยแบบไม่รู้ตัว ปล่อยของที่สะสมไว้ระเกะระกะ และมักจะไม่ยอมให้ผู้ใดมายุ่งกับของของตน ซึ่งสิ่งสะสมที่พบบ่อยก็อย่างเช่น หนังสือ นิตยสาร เสื้อผ้า ถุงพลาสติก ขวดต่าง ๆ กล่องกระดาษ ฯลฯ
ลองสังเกตตัวคุณหรือว่าคนใกล้ชิดดูนะคะว่ามีอาการของโรคเก็บสะสมของบ้างหรือไม่ ถ้ามีแนะนำให้รีบไปพบจิตแพทย์ดูหน่อยค่ะ เพราะส่วนมากคนที่เป็นโรคนี้ไม่ได้มีปัญหาทางสุขภาพจิตเท่านั้นแต่มักจะมีปัญหาสุขภาพกายด้วย อันเป็นผลมาจากที่อยู่อาศัยที่ไร้ระเบียบนั่นเอง
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
เฟซบุ๊กสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย
โรงพยาบาลเลิดสิน
adaa.org
nhs.uk