ไขปริศนา!? การหายตัวไปของพระอาจารย์ธรรมโชติแห่งบางระจัน เมื่อ 200 กว่าปีก่อน เล่ากันว่า...

พระอาจารย์ธรรมโชติ ศูนย์รวมจิตใจของชาวบ้านบางระจัน

พระอาจารย์ธรรมโชติ เดิมชื่อ โชติ ขณะบวชได้ฉายาทางพระว่า ธรรมโชติรังษี พื้นเพเป็นชาวเมืองสุพรรณ ในยุคสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย บวชเรียนแล้วจำพรรษา เป็นเจ้าอาวาสอยู่ ณ วัดเขาขึ้นหรือเขานางบวช ท่านมีความรู้ด้านวิชากสิณ ด้านวิชาอาคมที่แก่กล้า ด้วยทั้งพรรษาและวิชาต่างๆที่ได้ศึกษาฝึกพร่ำร่ำเรียนมา ใครเห็นล้วนแต่เกิดศรัทธา

พระอาจารย์ธรรมโชติ ตามประวัติเดิม พำนักอาศัยอยู่ ณ วัดเขานางบวช ต่อมาชาวบ้านบางระจันได้อาราธนาไปพำนักอยู่ ณ วัดโพธิ์เก้าต้น จังหวัดสิงห์บุรี ในปี พ.ศ. 2308 ด้วยเหตุที่พระอาจารย์ธรรมโชติมีวิทยาอาคมสูง และได้ลงวิทยาอาคมกับผ้าประเจียด ตะกรุดพิสมร แจกจ่ายให้กับนักรบค่ายบางระจัน

สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงพระนิพนธ์ในหนังสือไทยรบพม่าว่า พระอาจารย์ธรรมโชตินั้นได้หายสาบสูญไปหรือจะมรณภาพในเวลาเสียค่ายแก่พม่า หรือหนีรอดไปได้หาปรากฏไม่ แต่ตามความเชื่อและตำนานท้องถิ่นของชาวจังหวัดสุพรรณบุรีเล่าสืบต่อกันมาว่า เมื่อค่ายบางระจันมีทีท่าว่าจะแตก ลูกศิษย์ใกล้ชิดพระอาจารย์ธรรมโชติก็ได้นิมนต์ท่านหลบหนีออกจากค่าย โดยที่ท่านไม่ได้เต็มใจ เพราะคิดจะอยู่สู้ด้วยกัน ตายด้วยกัน แต่สุดท้ายท่านก็ขัดศรัทธากิจนิมนต์ของชาวบ้านที่รัก หวงแหน และเชิดชูท่านเสียมิได้ ว่าผ้าเหลืองไม่เหมาะที่จะมาจมกองเลือดจมพื้นพสุธาให้คนต่ำช้าสามานย์เยี่ยง พม่าข้าศึกได้ย่ำยี

ภาพจากหนังเรื่อง บางระจัน

 

สุดท้ายลูกศิษย์จำนวนหนึ่ง (ซึ่งไม่มากนัก เพื่อไม่ให้เป็นการแลดูน่าสงสัยแก่ผู้พบเห็นทั่วไป) ได้พาท่านออกมาจากค่ายบางระจัน ชั่วครู่ก่อนค่ายจะแตก แล้วลี้ภัยข้าศึกอยู่ในป่าเขาลำนำไพรจวบจนสงครามสงบจึงกลับมาจำพรรษาอยู่ที่ วัดเขานางบวช

บ้างก็ว่าหลังจากออกจากค่ายบางระจันมา ท่านก็ไม่ไปหลบอยู่ที่ไหน แต่ขอกลับมาอยู่วัดเขานางบวช วัดเดิมที่ท่านเคยจำพรรษาอยู่ โดยลูกศิษย์ทำช่องลับไว้ให้ท่านหลบอยู่บริเวณวิหารของท่าน (ซึ่งปัจจุบันยังคงอยู่) ไว้ให้ท่านนั่งเจริญสมาธิกรรมฐาน บำเพ็ญกุศล บำเพ็ญเพียรโปรดแก่เหล่าสรรพสัตว์ วิญญาณวีรชน และชาวบ้านบางระจัน

หนังสือพระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา ได้กล่าวถึงเหตุผลที่ทำให้เครื่องรางของขลังที่พระอาจารย์ธรรมโชติได้มอบให้ แล้วเสื่อมพลานุภาพลงไว้ ดังนี้

“ครั้นถึง ณ วันจันทร์ แรม 2 ค่ำ เดือน 8 ปีจอ อัฐศก พม่าก็ยกเข้าตีค่ายใหญ่บ้านบางระจันแตก ฆ่าคนเสียเป็นอันมากที่จับเป็นไปได้นั้นก็มาก บรรดาครอบครัวชายหญิงเด็กและผู้ใหญ่ ซึ่งเหลือตายอยู่นั้นให้กวาดเอาไปสิ้น แล้วเลิกทัพกลับไปยังค่ายพม่า

ตั้งแต่รบกันมาห้าเดือนจนเสียค่ายนั้น ไทยตายประมาณพันเศษ พม่าตายประมาณสามพันเศษ และพระอาจารย์ธรรมโชตินั้นกระทำสายสิญจน์มงคลประเจียดตะกรุดต่าง ๆ แจกให้คนทั้งปวง แต่แรกนั้น มีคุณอยู่คงแคล้วคลาดคุ้มอันตรายอาวุธได้ขลังอยู่ ภายหลังผู้คนมาอยู่ในค่ายมากสำส่อน ที่นับถือแท้บ้าง ไม่แท้บ้าง ก็เสื่อมตบะเดชะลง ที่อยู่คงบ้าง ที่ต้องอาวุธบาดเจ็บล้มตายบ้าง และตัวพระอาจารย์นั้น ที่ว่าตายอยู่ในค่ายก็มี ที่ว่าหายสูญไปก็มี ความหาลงเป็นแน่ไม่”

หลวงพ่อจรัญได้ไปธุดงค์แถวปากช่องกับพันเอกชม ได้ไปเจอจารึกที่พระอาจารย์ ธรรมโชติเขียนไว้ในถ้ำว่า

เหตุที่บางระจันยืนหยัดต่อสู้กับพม่าได้นั้น เพราะมีผู้หญิงอยู่คนนึง ชื่อคุณหญิงปล้องเป็นเมียท่านขุน ในสมัยนั้นที่ถูกพม่าฆ่าตาย ก็เกิดความแค้นที่พม่าฆ่าผัวตัวเองก็ได้รวบรวมเหล่าแม่ม่ายแม่ร้าง ที่หัวอกเดียวกับตัวเองที่พม่าฆ่าตาย ยอมเปลืองตัว ร้องเพลงแซวพม่า(ปัจจุบันคือเพลงอีแซว) พม่าก็จะร้องเห่กลับมา ที่ปัจจุบันเรียกว่าเพลงพม่าเห หรือพม่าเห่ ซึ่งเพลงพวกนี้ก็เกิดในสมัยนั้น

พระอาจารย์ ธรรมโชติ


ได้ทำการเกี้ยวพาราสี มอมเหล้าพม่า เมื่อเมาก็เอามีดปาดคอพม่าตายจนหมด

จนแม่ทัพใหญ่พม่า เกิดความสงสัยที่ส่งคนไปเท่าไหร่ทำไมถึงตายหมด จนถึงทหารมอญอาสาที่จะปราบบ้านบางระจัน และได้สืบรู้มาว่าเกิดจากฝีมือผู้หญิง

โดยได้ออกอุบายใช้จุดอ่อนของผู้หญิงให้แตกคอกันเอง เพราะรู้ว่าผู้หญิงขี้ระแวง โดยออกอุบายว่าบอกผู้หญิงที่มีสามี ว่ากำลังมีผู้หญิงแม่ม่ายแม่ร้าง ไปพัวพันสามีตัวเอง ส่วนพระอาจารย์ธรรมโชติ ท่านรู้ด้วยด้วยญาณของท่านรู้ว่าถึงชะตาบ้านบางระจันจะแตกคืนนั้น ท่านเลยเรียกชาวบ้านบางระจันที่เป็นลูกศิษย์ท่าน(ถ้าจำไม่ผิด เป็นกลุ่มผู้หญิงที่เหลืออยู่) คนที่มีฝึกสมาธิ แล้วมีพลังจิตสูงท่านก็ให้คาถา บังไพร ไว้ คาถาบังไพร สามารถบังตาศัตรูได้ชั่วคราว หักไม้แล้วศัตรูมองไม่เห็น ก็จะมีชาวบ้านกลุ่ม นี้ ที่หลบหนีออกมาได้ ส่วนตัวอ.ธรรมโชติ เองหายตัว มา ที่ถ้ำที่ดงพญาไฟ

ไม่รู้ว่าข่าวลือดังกล่าวระบาดอยู่ในท้องที่เมืองสุพรรณบุรีนานเท่าใด แต่คนที่ทำลายข่าวลือดังกล่าวคือกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เมื่อครั้งพระองค์ท่านดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ได้เสด็จไปเมืองสุพรรณบุรี แล้วมีการค้นพบแหล่งประวัติศาสตร์สำคัญหลายแห่ง เช่น เมืองโบราณอู่ทอง เมืองจระเข้สามพัน เจดีย์ยุทธหัตถี รวมทั้งวัดเขาขึ้นหรือวัดเขานางบวชซึ่งเป็นสถานที่พำนักของพระอาจารย์ธรรมโชติวีรบุรุษของไทยอีกท่านหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญยิ่งในการต่อสู้กับกองทัพพม่าในครั้งนั้น ด้วยยุทธวิธีแบบชาวบ้านธรรมดา ๆ

ฝาผนังวิหารเชื่อมกับปากถ้ำหรืออุโมงค์ที่เชื่อกันว่าพระอาจารย์ธรรมโชติใช้เป็นที่หลบซ่อนตัว


หลังจากค่ายบางระจันแตกและบ้านเมืองอยู่ในภาวะบ้านแตกสาแหรกขาด


ปากอุโมงค์ที่มีไฟส่องสว่างให้เห็นชัดเจน ทางลงอุโมงค์


ด้วยความเป็นพระชาวบ้านในดินแดนเร้นลับนั่นเอง ประวัติของพระอาจารย์ธรรมโชติจึงขาดรายละเอียดปลีกย่อย นอกจากบทบาทที่ปรากฏโดดเด่นขึ้นในช่วงสู้รบอันฉุกละหุก ถึงกระนั้นก็เป็นที่ยอมรับว่าท่านพระอาจารย์ธรรมโชติเป็นบุคคลที่เคยมีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ มีบทบาทสำคัญยิ่งในการร่วมวางแผนกับชาวบ้านบางระจันที่ค่ายวัดโพธิ์เก้าต้นในการปกป้องมาตุภูมิอย่างกล้าหาญชาญชัย

ขอขอบคุณที่มาจาก : พลังจิต , oknation.nationtv.tv