กระจ่างแล้ว! 15 ความจริงของ ”ยาคูลท์” ที่กินอยู่ทุกวันความจริงเเล้ว มันเป็นเเบบนี้!! แทบไม่อยากเชื่อ!?

ยาคูลท์ เชื่อว่าหลายๆคนชอบดื่ม เพราะรสชาติดี มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว คุณเคยสงสัยไหมคะว่า ตลอดระยะเวลาหลายสิบปีที่ผ่านมาตั้งแต่เราเป็นเด็ก ยาคูลท์ ยังคงความ original หลายๆอย่างไม่ว่าจะเป็นรูปลักษณ์ของแบรนด์ รสชาติ วิธีการขาย และขนาด เรามาหาคำตอบกันค่ะ
มาดู 15 ว่ามันจะเป็นยังไง..

1.ยาคูลท์ เป็นยาหรือไม่ ทำไม่ต้องมีคำว่า ยา ด้วย ???

ยาคูลท์เป็นนมเปรี้ยวสัญชาติญี่ปุ่น แปลกตรงที่ชื่อไม่ใช่ภาษาญี่ปุ่นทั้งที่ประเทศนี้ชาตินิยมจัดมาก YAKULT เป็นภาษา Esperanto(ภาษาประดิษฐ์ของหมอรัสเซีย) มาจากคำว่า “Jahurto” มีความหมายเท่ากับ “yoghurt” ซึ่งแปลตรงตัวว่า ” ยายุยืนยาว ”





2 ยาคูลท์ ทำมาจากอะไร มิทราบ?

ยาคูลท์ไม่ใช่เป็นเพียงนมเปรี้ยวหรือโยเกิร์ต แต่เป็น “โพรไบโอติก (Probiotics)” หรืออาหารเสริมที่มีแบคทีเรีย และจุลินทรีย์ที่ให้ประโยชน์ต่อร่างกาย

โดยจุลินทรีย์ชิโรต้า หรือแลคโตบาซิลลัส คาเซอิ สายพันธุ์ ชิโรต้า ได้ถูกคัดเลือกมาโดยเฉพาะ เพื่อให้สามารถทนต่อสภาวะความเป็นกรดที่รุนแรงในกระเพาะอาหารของคนเรา และทนต่อความเป็นด่างที่รุนแรงของน้ำดี สามารถมีชีวิตอยู่รอดได้ในลำไส้ และให้ประโยชน์ต่อสุขภาพของเราได้นั่นเอง



3 ยาคูลท์มีน้ำตาลสูงถึง 18% เชียวนะ!!

น้ำตาลถือเป็นองค์ประกอบที่สำคัญมากของยาคูลท์ ไม่ใช่เพื่อเพิ่มรสชาติความอร่อยเท่านั้น แต่แบคทีเรียนั้นสามารถเจริญเติบโตได้ในน้ำตาล หากถามว่าดื่มยาคูลท์แล้วจะอ้วนมั้ย คงไม่ต้องตอบอะไรมาก เพราะในยาคูลท์มีน้ำตาลเป็นส่วนประกอบถึง 18% เลยทีเดียว จึงเหมาะที่จะบริโภควันละ 1 ขวดเท่านั้น

4 กินยาคูลท์แล้วอ้วนจริงหรอ?

แน่นอนว่าอะไรก็ตามที่กินมากๆ ดื่มมากๆ ก็ต้องไม่ดีต่อสุขภาพ และทำให้อ้วนด้วยเป็นธรรมดา เพราะจากปริมาณของน้ำตาลที่คำนวณออกมาก็เท่ากับน้ำตาลถึง 3.5 ช้อนชา และยาคูลท์ 1 ขวดก็ให้พลังงาน 71 kcal



5 ทำไมถึงไม่ทำไซส์ใหญ่?

เพราะจากคำแนะนำคือควรดื่ม 1 ขวด 80 ซีซี จึงจะดีต่อสุขภาพมากที่สุด เป็นเพราะยาคูลท์เป็นผลิตภัณฑ์นมเปรี้ยวที่ได้จากการหมัก โดยเชื้อจุลินทรีย์ที่เป็นแบคทีเรีย ที่ชื่อ แลคโตบาซิลลัส ซึ่งเป็นตัวที่ทำให้เกิดรสชาติเปรี้ยว เนื่องจากเกิดกรดขึ้นมาหลายชนิดระหว่างกระบวนการหมัก ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกรดแลคติก ถ้าดื่มขวดใหญ่กว่านี้ก็อาจจะอ้วน หรือได้รับแบคทีเรียตัวนี้มากเกินความจำเป็น



6 มีจุลินทรีย์แล้วอยู่นอกตู้เย็นได้ไหมเอ่ย?

หลายคนคงอาจจะสงสัยว่า เอ๊ะ…ในเมื่อยาคูลท์มีจุลินทรีย์แล้วเราควรเก็บยาคูลท์ไว้ที่อุณหภูมิเท่าไหร่ เพื่อที่จุลินทรีย์เหล่านั้นจะได้ไม่ตาย และคงคุณภาพ คำตอบคือ ต่ำกว่า 8 องศาเซลเซียส หรือถึงแม้ยาคูลท์จะถูกนำมาแช่แข็ง แต่แลคโตบาซิลลัสก็จะยังมีชีวิตอยู่แน่นอน



7 เด็ก – สตรีมีครรภ์กินได้หรือไม่?

เด็กอายุมากกว่า 1 ปีสามารถดื่มได้ แต่ไม่แนะนำให้เด็กที่มีประวัติแพ้นมวัวดื่ม ส่วนผู้หญิงสามารถดื่มได้ แถมยังให้ผลดีอีกด้วย เพราะในยาคูลท์มีจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ เมื่อดื่มแล้วอาการท้องผูกหรืออาหารไม่ย่อยในระหว่างตั้งครรภ์จะหายไป รวมไปถึงผู้รับประทานมังสวิรัติที่สามารถดื่มยาคูลท์ได้ เพราะเป็นส่วนหนึ่งของโภชนาการที่สมดุลต่อร่างกาย



8 ทำไมยาคูลท์ถึงไม่มีแบบกล่องออกขาย

หลายคนอาจจะสงสัย แต่ถ้าได้รู้ว่าบริษัทนี้เค้าให้ความสำคัญกับการรักษาสิ่งแวดล้อม ก็จะเข้าใจในเหตุผลนี้ดี เพราะถ้าทำแบบกล่องก็ต้องไปเบียดเบียนธรรมชาติ แต่ทุกวันนี้วัสดุที่ใช้คือ Poly Styrene ซึ่งเป็นพลาสติกที่สามารถย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ ไม่เป็นพิษต่อสภาพแวดล้อม และไม่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค แถมยังรณรงค์ให้คนดื่มจากขวดโดยตรง จะได้ไม่ต้องใช้หลอดอีกด้วย



9 ทำไมต้องซื้อกับสาวยาคูลท์เท่านั้น?

เป็นคำถามที่หลายคนสงสัยมากๆ เพราะบางที่เนี่ยต้องบอกเลยว่าหายาคูลท์กินได้ยากมากจริงๆ ต้องรอสาวยาคูลท์เท่านั้น แต่จริงๆ แล้วนี่คือนโยบาลของบริษัท ที่มีปัญหาในเรื่องของกระบวนการผลิตที่ต้องผ่านขั้นตอนมากมาย เลยทำให้ผลิตได้ไม่เพียงพอ และอีกอย่างคือ เพื่อต้องการให้สาวยาคูลท์ทั้งหลาย ทั่วประเทศเนี่ยไม่ต้องตกงาน




10 ทำไมต้องเป็นวลีนี้…“ถามสาวยาคูลท์ดูสิคะ”

สาวยาคูลท์เริ่มมีมาตั้งแต่ปี 1963 และเนื่องจากลูกค้าส่วนใหญ่ที่ซื้อยาคูลท์ในอดีตนั้นเป็นแม่บ้านซะส่วนใหญ่ การมีคนส่งยาคูลท์เป็นผู้หญิง เลยกลายมาเป็นการแนะนำเรื่องสุขภาพ นู่น นี่ นั่น ให้กันฟังซะส่วนใหญ่ แถมสาวยาคูลท์ส่วนมากก็จะมีความรู้รอบตัวที่แน่น ถามอะไรก็ตอบได้หมด เลยเป็นที่มาของวลีฮิต “ถามสาวยาคูลท์ดูสิคะ” นั่นเอง





11 ยาคูลท์มีพลังงานเท่าไหร่?

ยาคูลท์ 1 ขวด ให้พลังงาน 71 กิโลแคลอรี่



12 ยาคูลท์มีสารกันบูดหรือไม่

ยาคูลท์ไม่มีการเติมสารกันบูดและสารกันการตกตะกอน (Stabilizer) เพราะกรดนมในยาคูลท์ที่เกิดจากจุลินทรีย์ชิโรต้าถูกสร้างขึ้นในระหว่างกระบวนการหมักที่ช่วยป้องกันไม่ให้ผลิตภัณฑ์เน่าเสีย



13 ยาคูลท์เคยใช้ขวดแก้ว

ตั้งแต่ปี 1935 ยาคูลท์เคยใช้ขวดแก้วใสกริ้งมาตลอด สรีระของขวดมีแรงบันดาลใจจาก “Kokeishi” ตุ๊กตาโบราณ จนกระทั่งปี 1968 ปรับเปลี่ยนมาใช้ขวดพลาสติกแบบที่เราเห็นๆ ในปัจจุปัน



14 “อหิวาตกโรค” จุดพลิกยาคูลท์ไทย

จุดที่พลิกผันจริงๆ คือ เมื่อปี 1972 เกิดอหิวาตกโรคระบาดแถวปากน้ำ จ.สมุทรปราการ บริษัทยาคูลท์ไทยนำยาคูลท์เพื่อเยียวยาอาการผู้ป่วย ซึ่งตอนนั้นมีที่อาการหนักอยู่ 3 คน ซึ่งถ้าผู้ป่วยจะใช้ยาคูลท์แทนยาจะต้องหยุดดื่มยาทั้งหมด และต้องดื่มยาคูลท์ต่างน้ำ ปรากฏว่าสามชั่วโมงผ่านไป คนไข้ที่ดื่มยาคูลท์หยุดถ่าย และกลายเป็นกระแส talk of the town ณ บัดนั้น




15 ยาคูลท์สูตรจุลินทรีย์ทะลัก!

Yakult 400LT คือสูตรเด็ดสำหรับคนรักจะถ่าย (อึ)ให้คล่อง เพราะยาคูลท์ขวดนี้ลดความหวาน ลดแคลอรีหลายเท่าตัว แต่เพิ่มแลคโตบัลซิลัสตระกูล Shirota เกือบ 400,000 ล้านตัวต่อขวด จากไซส์ปกติมีเพียง 6.5 พันล้านหรือให้เต็มที่ก็แค่ 3 แสนล้านตัวเท่านั้น





ได้ทราบถึงรายละเอียดเกี่ยวกับยาคูลท์มาทั้งหมดแล้ว ควรบริโภคให้ถูกต้องนะคะ เพื่อสุขภาพที่ดี

บทความนี้คัดลอกมาจาก youcilck.com