“ปวดหัว” จนนอนไม่หลับ สัญญาณเตือนสุขภาพที่ไม่ควรมองข้าม

“นอนหลับ” คือการพักผ่อนที่ดีที่สุด แต่ไม่ใช่ทุกครั้งที่การนอนหลับสามารถทำได้ง่ายๆ โดยเฉพาะสำหรับใครที่มีหน้าที่การงานอันแสนเคร่งเครียด และต้องแบกรับความรับผิดชอบค่อนข้างสูงในแต่ละวัน รวมไปถึงการประสบพบเจอเรื่องราวต่างๆ ที่ก่อให้เกิดความไม่สะบายใจ วิตกกังวล และกดดัน เหตุการณ์ต่างๆ เหล่านี้มีส่วนสำคัญอย่างยิ่ง ที่ทำให้เกิดภาวะเครียดสะสม ซึ่งหากไม่ได้รับการผ่อนคลายหรือบำบัดอย่างถูกวิธี นานวันอาจทำให้มีความผิดปกติทางอารมณ์ หรืออาจถึงขั้นป่วยเป็นโรคซึมเศร้าได้
 headache-2
อาการเหล่านี้บางครั้งอาจพบร่วมกับ “โรคปวดศีรษะ” หรือ “ไมเกรน” โรคที่ทุกคนยกให้เป็นหนึ่งในอาการปวดอันแสนทรมาน เพราะเมื่อไหร่ที่อาการกำเริบนอนจากจะทำให้ปวดหัวตุ๊บๆ บริเวณขมับและท้ายทอยจนนอนไม่ได้ ซึ่งอาจกระทบต่อการทำงานและการใช้ชีวิตประจำวันแล้ว ในระยะยาวอาจก่อให้เกิดโรคร้ายแรง เช่น โรคหลอดเลือดสมอง โรคหัวใจ และใบหน้าเบี้ยวครึ่งซีก เลยทีเดียว
แม้การปล่อยให้เกิดอาการปวดหัวเรื้อรังอาจนำไปสู่โรคร้ายแรง แต่ด้วยลักษณะของโรคที่มักเป็นๆ หายๆ ทำให้หลายคนมองข้ามสัญญาณเตือนของร่างกาย เพราะในระยะแรกที่มีอาการเพียงเล็กน้อย เพียงแค่กิน พาราเซตามอล นั่งพัก นอนพัก หรือบีบนวด อาการก็ดีขึ้นและทิ้งช่วงไป ซึ่งพฤติกรรมแบบนี้ถือเป็นกลไกปกติของคนเรา ที่ไม่ได้เพ่ิงเกิดขึ้นในยุคใหม่ อย่างที่หลายคนเข้าใจ เพราะงานวิจัยที่เผยแพร่ในวารสาร Nature ฉบับล่าสุด ระบุว่า มนุษย์นีแอนเดอร์ธัล มีความรู้เกี่ยวกับสมุนไพรที่ใช้บรรเทาอาการปวดและอักเสบ มากว่า 5 หมื่นปีแล้ว แต่ความรู้ในยุคใหม่ก็ช่วยให้เรารูว่าการกินยาติดต่อกันนานๆ อาจทำให้ร่างกายได้รับยาเกิดขนาดซึ่งไม่ส่งผลดี
 headache-3

ข้อสังเกตง่ายๆ ที่ช่วยบ่งชี้ว่าเมื่อไหร่ก็ตาม ที่เกิดหนึ่งในอาการเหล่านี้ขึ้นกับร่างกาย ควรต้องรีบไปหาหมอเพื่อทำการตรวจวินิจฉัยและรักษาอย่างถูกวิธี คือ 
1. ปวดรุนแรง หรืออาเจียนรุนแรง

2. ปวดมากตอนเช้ามืด

3. ปวดรุนแรงขึ้นและนานขึ้น

4. เดินเซ แขนขาอ่อนแรง หรือชักกระตุก

5. ตาพร่ามัว และตาแดงร่วมด้วย

6. ปวดหลังบาดเจ็บที่ศีรษะ อาการไม่ดีขึ้นใน 2-3 วัน
เมื่อรู้ถึงผลเสียจากการปวดหัวและวิธีสังเกตอาการ เพื่อเข้าสู่กระบวนการรักษาอย่างถูกวิธีไปแล้ว อีกหนึ่งตัวช่วยที่จะทำให้ทุกคนนอนหลับได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมตื่นขึ้นมารับวันใหม่ที่สดใส ปราศจากอาการงัวเงียหรือไม่สดใส ด้วยทริคง่ายๆ ดังนี้ 
- หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มี “คาเฟอีน” โดยเฉพาะกาแฟในช่วงเวลาเย็นหรือหัวค่ำ เพราะร่างกายจะตื่นตัวและทำให้หลับยากขึ้นในเวลากลางคืน

- งด “แอลกอฮอล” หลายคนเชื่อว่าการดื่มเหล้าและเบียร์ หรือจิบไวน์เบาๆ สักแก้วก่อนนอน จะช่วยทำให้หลับได้ง่ายขึ้น แต่หารู้ไม่ว่าแม้จะหลับได้เร็วแต่แอลกอฮอลจะทำให้ตื่นเป็นพักๆ ตลอดคืน

- อยากหลับสบายต้อง “ออกกำลังกาย” เพราะการออกกำลังกายช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการนอนหลับ คนที่ออกกำลังกายสม่ำเสมอจะหลับง่ายกว่าคนที่ไม่ออกกำลังกาย

- อย่ากิน “ยานอนหลับ” พร่ำเพรื่อ คนจำนวนไม่น้อยเลือกใช้ทางลัด คือใช้ยานอนหลับจนติดเป็นนิสัย พฤติกรรมแบบนี้ยิ่งทำให้การนอนหลับทำได้ยากขึ้น จึงควรใช้ภายใต้คำสั่งของหมอจะดีที่สุด


นอกจากข้อปฏิบัติง่ายๆ ข้างต้นแล้ว ปัจจัยสภาพแวดล้อมก็มีส่วนสำคัญไม่น้อย ในการช่วยให้นอนหลับได้ง่ายและหลับลึกมากยิ่งขึ้น สมาคมแพทย์โรคจากการหลับแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา แนะนำว่าควรทำให้ห้องนอนเงียบและไร้เสียงรบกวนมากที่สุด เพราะเสียงจากการจราจร เครื่องบิน โทรทัศน์ และเสียงอื่นๆ สามารถรบกวนการนอนหลับแม้ไม่ทำให้ตื่นก็ตาม ขณะเดียวกันการใช้ม่านบังแสงสีเข้ม เพื่อทำให้ห้องนอนไม่สว่างเกินไปก็ช่วยทำให้หลับได้เต็มตื่นเช่นกัน เพราะแสงสว่างที่ผ่านเปลือกตาในยามหลับนั้น ถือเป็นรบกวนการนอนอย่างหนึ่ง